กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลตันหยงลุโละ ปีงบ 2567
รหัสโครงการ 67 – L3012 – 01 – 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
วันที่อนุมัติ 29 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 16,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอันวาร์ เบ็ญอิสมาแอล
พี่เลี้ยงโครงการ นายนาเซร์ หวังจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
27.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดปัตตานี ปี2566 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สะสมรวม 41,527 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 62.75 ต่อแสนประชากร มีรายงาน ผู้เสียชีวิต 36 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.05 ต่อแสนประชากร คิดเป็นอัตราป่วยตาย 0.09 ต่อแสนประชากรมีการระบาดที่ค่อนข้างสูง และสำหรับสถานการณ์ไข้เลือดออก ตำบลตันหยงลุโละ ระหว่างวันที่1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2566 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 13 ราย เทียบเป็นอัตราป่วย 176.94ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ15 - 24ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน

อัตราป่วยลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 96 16,300.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน ชี้แจงโครงการเพื่อกำหนดกิจกรรมและเกณฑ์กติกาในการประกวดและมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงาน เพื่อไปประชาสัมพันธ์ในชุมชน 10 1,000.00 -
1 - 31 มี.ค. 67 จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ไข้เลือดออก เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ครั้ง 3 หมู่ 42 7,300.00 -
1 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมประกวดบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย หมู่ละ 3 หลังคาเรือน (รวมเป็น 9 หลังคาเรือน) 9 4,000.00 -
1 - 30 เม.ย. 67 ลงสำรวจประกวดบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย 5 1,000.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 กิจกรรมถอดบทเรียน 10 1,000.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 สรุปผลการประกวดและมอบรางวัล 10 1,000.00 -
1 - 30 มิ.ย. 67 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลและประเมินโครงการ 10 1,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง
  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2567 10:22 น.