กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกปี 2567 รพ.สต.โคกโพธิ์ ในเขต อบต.โคกโพธิ์
รหัสโครงการ L2975
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกโพธิ์
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวลี จันทร์งาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.732,101.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศ ไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็น อันดับหนึ่งของมะเร็งใน สตรี พบได้ถึง๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปาก มดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๕ - ๖๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่ เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จ้าเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่นๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ -๖๐ ในเขตพื้นที่ รพ. สต.โคกโพธิ์ พบว่ากลุ่มเป้าหมาย๘๕๕ ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ จำนวน ๑๑๘ราย ร้อยละ๑๓.๘ กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มป้าหมาย ๓๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๑,๐๗๑ ราย ได้รับการคัด กรอง๓๒๑ ราย คิดเป็นร้อยละ๒๙๙๗ ที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิด จาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้ง กลุ่มเป้าหมาย และ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ดังนั้น รพ.สต.โคกโพธ์ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมปี 2567 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear/ตรวจมะเร็งเต้านม 2.ให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการถ่ายทอดความรู้มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 3.ให้สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องร้อยละ 80 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจPap Smear โดยเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ ๑. เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
๒. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน
๓. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ
4. เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ และติดตามกลุ่มเป้าหมาย
๕. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่อาสาสมัครสาธารณะ - ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก - สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง - ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear จำนวน ๖o คน ๖. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ ๗. อสม. ให้ความรู้/สอนทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย ๘. จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๙. แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่ผู้รับบริการ ๑๐. ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย 11. สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง 2.พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 3.ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความนตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2567 13:41 น.