กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลหนองธง (รุ่นที่ 3) ประจำปี 2567 (ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองธง)
รหัสโครงการ 67-L3344-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองธง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหมัด สันชูรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246301569,100.1100527place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึงคนที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งได้จัดทำการสำรวจประชากรสูงอายุมาแล้ว 5 ครั้ง      ผลจากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัดโดยปี 2537 มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545 และปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 9.4 และ 10.7 ตามลำดับ ในปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.2 และผลการสำรวจปี 2557 พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด ชายร้อยละ 13.8 และหญิงร้อยละ 16.1 จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 10,014,699 คน ตำบลหนองธงมีประชากรทั้งหมด 8,640 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,067 คน คิดเป็นร้อยละ 12.35 ของประชากรของตำบลหนองธงทั้งหมด จากสถานการณ์ผู้สูงอายุ ซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป        ในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในนโยบายด้านประชากรและการวางแผนครอบครัว ทำให้อัตราเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุข และเทคโนโลยี ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป เป็นโครงสร้างแบบผู้สูงอายุ ฉะนั้นผู้สูงอายุควรต้องได้รับความรู้ในเรื่อง การรับประทาน อาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพปากและฟัน การป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้เป็นต้น เพื่อที่จะสามารถดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ทำให้เกิดปัญหาได้น้อยที่สุดและส่งผลให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ช่วยให้คนรอบข้างหรือครอบครัวทั้งสังคมมีความสุขด้วย และครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุด ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมี ความสุข และทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมา

แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายระยะยาวของการพัฒนาผู้สูงอายุ ไม่ใช่การหาทางช่วยเหลือผู้สูงอายุเพราะ นั่นเป็นการมองอนาคตว่าจะเต็มไปด้วยภาระที่ทุกคนต้องมาช่วยกันรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุที่นับวันแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการสาธารณสุขที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ดังคำกล่าวของ นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า “เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ซึ่งจะทำได้ นอกเหนือจากการมีสุขภาพที่ดี ยังต้องมีความรู้ความสามารถ และโอกาสในการทำงานต่างๆ รวมทั้งมีเงินสำหรับการจับจ่ายใช้สอย เพื่อสิ่งจำเป็นในชีวิต ซึ่งหากทำได้จะทำให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าประชากรในวัยอื่นๆ ดังนั้น เราจึงต้องมาช่วยกันสร้างสังคมไทยให้มองผู้สูงอายุเป็นผู้สร้าง มากกว่าการมองผู้สูงอายุด้วยความสงสาร หรือแย่ที่สุดคือมองผู้สูงอายุว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์” ซึ่งปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทยประกอบด้วยปัญหาหลักๆ        3 ประการคือ 1. ปัญหาสุขภาพ เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นสุขภาพจะเริ่มเสื่อมโทรมและมีโรคต่างๆ เกิดขึ้นตามมา ดังนั้น ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวควรจะใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นรวมถึงหมั่นพาไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ ทำให้สภาวะแวดล้อมในครอบครัวเป็นสังคมของคนทุกวัยได้อย่างแท้จริง 2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน เนื่องจากผู้สูงอายุของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และไม่รู้จักการ ออม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองเหมือนเก่า จึงทำให้เกิดความขัดสน ยากจนเพราะไม่ได้มีการออมเงินมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรปลูกฝังนิสัยให้มีการรักการออมตั้งวัยหนุ่ม เพื่อให้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุรวมถึงการให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุที่ยากไร้ให้มีความมั่นคงทางรายได้ 3. ปัญหาทางสังคม แม้ว่าผู้สูงอายุในสังคมไทยจะได้รับการเคารพนับถือจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สนใจและไม่สามารถพัฒนาความรู้เพิ่มเติมให้ทันยุคสมัยได้ ทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคมกับบุคคลในวัยอื่นๆ ดังนั้น ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐก็จะต้องเข้ามาส่งเสริมดูแล เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากสภาพปัญหาของผู้สูงอายุโดยภาพรวม ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองธง จึงวางแผนการพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ สามารถช่วยเหลือตัวเองและสังคม เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมพัฒนาและแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุ สามารถทำได้หลายด้าน หลายกิจกรรม หลายรูปแบบ และจำเป็นต้องอาศัยหลายภาคส่วนร่วมดำเนินการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องบูรณาการกิจกรรมและผู้มีส่วนร่วมเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้การดำเนินงานในชื่อ “โครงการฝึกอบรมโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลหนองธง” ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ โดยยึดหลักการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตการพัฒนาทักษะ และการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุ กิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ              และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น การดูแลสุขภาพกายใจ                โดยวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันเพื่อเกิดพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุต่อไป 4.เป้าหมาย กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมศึกษาเรียนรู้ผู้สูงอายุ (ในห้องเรียน) กิจกรรมศึกษาเรียนรู้ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕ คน
รวมทั้งสิ้น 45 คน กิจกรรมที่ 2
- กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน จำนวน 40 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕ คน
รวมทั้งสิ้น 45 คน กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรับประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและผู้ที่เกี่ยวข้อง 5.สถานที่ดำเนินการ ลานกีฬาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง 6.วิธีดำเนินการ
6.1 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการและเขียนโครงการ
6.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณดำเนินงาน 6.3 ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่
6.4 จัดทำแผนการดำเนินงาน / ประชาสัมพันธ์
6.5 ดำเนินการจัดกิจกรรม ๖.6 ประเมินผลโครงการ 7. ระยะเวลาดำเนินการ   มกราคม –  กันยายน 25๖7 8. งบประมาณ ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหนองธง จำนวน 42,500.- บาท (รายละเอียดค่าใช้จ่ายแนบท้าย)
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงบประมาณ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมศึกษาเรียนรู้ (ในห้องเรียน) การฝึกอบรมสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลหนองธง จำนวน 45 คน งบประมาณประกอบด้วย 1. ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ กระเป๋าผ้าลดโลกร้อน ฯลฯ สำหรับนักเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 40 ชุดๆ ละ 5๐ บาท            เป็นเงิน 2,000- บาท 2. ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมส่งเสริมอาชีพลดรายจ่าย
          เพิ่มรายได้ (การทำขนม)        เป็นเงิน 2,000.- บาท
3. ค่าวิทยากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ตามตารางกิจกรรม) 3.๑ กฎหมายและสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ
- ค่าวิทยากรฝึกอบรม 1 คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน ๑,200 .- บาท 3.2 การเต้นลีลาศพื้นฐานสำหรับผู้สูงวัย - ค่าวิทยากรฝึกอบรม 1 คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน ๑,200.- บาท 3.3 การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น - ค่าวิทยากรอบรม 1 คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,200.-บาท 3.4 การนวดคลายเครียดยืดเหยียดกล้ามเนื้อสำหรับผู้สูงอายุ
- ค่าวิทยากรฝึกอบรม 1 คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน ๑,200.- บาท 3.5 สุขภาพกาย 3 อ อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกายและโรคที่ได้ในวัยผู้สูงอายุ
- ค่าวิทยากรฝึกอบรม 1 คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,200.- บาท 3.6 การนำหลักศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน,การทำสมาธิวิปัสสนา
- ค่าวิทยากรฝึกอบรม 1 คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน ๑,200.- บาท 3..7 การฝึกอาชีพเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
- ค่าวิทยากรอบรม 1 คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,200.-บาท 4.8 การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ - ค่าวิทยากรอบรม ๑ คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,200.-บาท 3.9 ทฤษฎีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง/การออม - ค่าวิทยากรอบรม ๑ คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,200.-บาท 3.10 กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ
- ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน x ชั่วโมงละ 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200.-บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
- จำนวน 45 คนๆ ละ x 25 บาท x 15 วัน        เป็นเงิน 16,875 บาท 5. ค่าป้ายโครงการฯ จำนวน 2 ป้าย                เป็นเงิน  900.- บาท กิจกรรมที่ 2 โครงการฝึกอบรมโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลหนองธง การศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองธง จำนวน 45 คน งบประมาณดำเนินการประกอบด้วย 1. จิตอาสาเพื่อชีวิตและสังคม (เพื่อนเยี่ยมเพื่อน) 2. กิจกรรมกีฬาสีผู้สูงอายุเชื่อมความสัมพันธ์ - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการแข่งขันกีฬา เป็นเงิน 1,525.- บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,250.- บาท     รวมเป็นเงิน 3,775 บาท (สามพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรับประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และผู้ที่เกี่ยวข้อง 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คนๆละ 50 บาท      เป็นเงิน ๒,250.- บาท 2. ค่าตกแต่งสถานที่        เป็นเงิน 1,500.- บาท 3. ค่าจัดทำใบประกาศนียบัตร จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200.- บาท
  รวมเป็นเงิน 4,950.- บาท (สี่พันเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ดังนั้น โครงการฝึกอบรมโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลหนองธง ใช้งบประมาณดำเนินการรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,500- บาท (สี่หมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน)  หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 3.1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ 3.2 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3.3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม 3.4 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ 3.5 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดต่อไป

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้สูงอายุนำความรู้มาพัฒนาตนเองและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3) ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม 4) คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ 5) ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นดำรงสืบทอดต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567 10:18 น.