กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน
รหัสโครงการ 67-L5200-3-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัยเทศบาลตำบลนาทวี(ศูนย์1)
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรรณิกา ศิริประภา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.693,100.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด -5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้าน ต่าง ๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กในวัยนี้หากได้รับการเลี้ยงดูที่ เหมาะสมมีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้น เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่คุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการ ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลต่อพัฒนาการ เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหว คล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจ เรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดีมักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าข้าหรือ หยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่าเด็กแรกเกิด - 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน ทั้งนี้ การกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน"โภชนาการ "จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร”ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ใต้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่ สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิตเป็นวัยรากฐานพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวาง พื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในระยะ ๒ ปีแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง คุณส่ง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กก่อนวัย เรียนปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาด สารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญ จากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ ถูกต้อง และการไม่รับประทานอาหารเข้า จากการตรวจภาวะโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัย เทศบาลตำบลนาทวี (ศูนย์ ๑) พบว่าในปีการศึกษา ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖ ดังนั้นศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัยเทศบาลตำบลนาทวี (ศูนย์ ๑) คาดว่าในปีการศึกษา ๒๕๖๗ จะมีเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทางศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัยเทศบาลตำบลนาทวี (ศูนย์ ๑) จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ในปีการศึกษา ๒๕๖๗ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ๒. เพื่อติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ที่มีภาวะเสี่ยง ๓. เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กตามวัย 2.เด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ 3.เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567 10:46 น.