กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการต้านภัยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแบบองค์รวม ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ L3313
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมจองถนน
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี ช่วยพิชัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.489,100.194place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) หลักการและเหตุผล จากรายงานของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ พบว่า ในปี พ.ศ.2544 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ6,192 ราย และเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูก 3,166 ราย คิดเป็นร้อยละ50 สำหรับมะเร็งเต้านม พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก ในปี พ.ศ.2554 พบอุบัติการณ์การเกิดในผู้ป่วยใหม่ ประมาณ 12% พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ชายมีโอกาสพบได้ 1% หากตรวจพบในระยะเริ่มต้น มีโอกาสรักษาหายและอัตราการรอดชีวิตสูง ในปัจจุบันพบว่าการตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะต้นสามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาหายขาดได้ กล่าวคือหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม โอกาสรอดชีวิตที่ 5 ปีของมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 และ 2 สูงถึง 98% และ 88% ตามลำดับ ตามแนวทางของสถาบันมะเร็งแห่งชาติแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ดังนี้  การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง: ควรคลำเต้านมทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ หลังหมดประจำเดือน 2-3 วัน เนื่องจากจะคัดเต้านมน้อย  การตรวจเต้านมโดยแพทย์: แนะนำให้ตรวจปีละ 1 ครั้งในผู้ป่วยที่อายุ 40 ปีขึ้นไป การถ่ายภาพเอ็กเรย์เต้านม (Mammography) เป็นการตรวจที่มีความไวมากกว่าการคลำ สามารถตรวจพบก้อนมะเร็งขนาดเล็กๆได้ อาจทำร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์ (ultrasonography) สำหรับมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้ เริ่มจากแนะนำให้ลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน และงดสูบบุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (HPV vaccine) ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกและรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้การป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูง ยังสามารถป้องกันมะเร็งปากช่องคลอด ช่องคลอด ทวารหนัก และมะเร็งช่องปากได้อีกด้วย โดยทั่วไปแนะนำให้ฉีด HPV วัคซีน ที่ช่วงอายุ 11 หรือ 12 ปี ถึงอายุ 26 ปี และได้ผลดีที่สุดในคนที่ไม่เคยได้รับเชื้อหรือไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว แพทย์ก็ยังแนะนำให้ไปตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีทั้งวิธีการ ตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear) และวิธีตรวจ เอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA) สำหรับการตรวจแปปสเมียร์ แพทย์จะทำการป้ายเซลล์จากปากมดลูกเพื่อเก็บไปตรวจหาความผิดปกติ หรือปัจจุบันใช้วิธี Liquid-base cytology (LBC) เป็นการเก็บเซลล์จากปากมดลูกใส่ในของเหลวเพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติ ซึ่งให้ผลตรวจที่ชัดเจนมากขึ้น การตรวจแปปสเมียร์ หรือ LBC จะสามารถตรวจหาได้ทั้งเซลล์มะเร็ง และเซลล์ที่มีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการตรวจเชื้อ HPV DNA สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจคัดกรองมากขึ้น ในปีงบประมาณ 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจองถนน ได้จัดทำโครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30 – 70 ปีจำนวน 210 คน เพื่อให้ประชาชนได้ความรู้และตระหนักถึงอันตรายของมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ผลที่ได้รับจากโครงการ มีกลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ90และตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20
ในปีงบประมาณ 2567 นี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจองถนน ได้จัดทำโครงการต้านภัยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแบบองค์รวม ในกลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30 – 70 ปี จำนวน 250 คน เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาส ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการอยู่ห่างไกลโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก หากคัดกรองพบมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกจะได้รักษาให้ทันท่วงทีและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ดี
2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่
3.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 10:59 น.