กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข้าสุนัตหมู่ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L4115-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 40,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิง
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 40,900.00
รวมงบประมาณ 40,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของมุสลิมที่ทุกคน พึงปฏิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสะอาดของอวัยวะเพศและผลทางเพศสัมพันธ์ ตามหลักการของศาสนา อิสลาม คือการตัดหนังหุ้มส่วนปลายอวัยวะเพศหรือเรียกตามภาษาท่องถิ่นว่า "มาโซะยาวี" ซึ่งจะกระทำกับเด็กชายที่มีอายุระหว่าง 9-16ปี เด็กที่เข้าพิธีนี้เรียกว่า อาเนาะตูนอ โดยโต๊ะมูเด็งหรือหมอทำพิธี ผู้นำศาสนา ญาติพี่น้องและผู้ที่เคารพนับถือ โดยบิดามารดาจะไปว่าจ้างผู้ที่มีความชำนาญ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หมอทำสุนัต พร้อมกับเชิญญาติ พี่น้องมาร่วมพิธี เมือถึงเวลาทำพิธี จะประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อขอพรแด่องค์อัลเลาะห์ ผู้ทำสุนัตจะเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเพื่อให้สะดวกในการทำสุนัต เช่น การนุ่งผ้าขาวม้า หรือนุ่งผ้าโสร่งกลอมเท้าก็ได้ เมื่อถึงเวลาทำพิธี โต๊ะมูเด็งหรือหมอผู้ทำพิธีกล่าวนามพระผู้เป็นเจ้า เสร็จแล้วลงมือขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของผู้ทำสุนัต จากนั้นจึงทำพิธีมาโซะ มาลายูหรือมาโซะอิสลามด้วยการกล่าวคำปฏิญาณต่อองค์อัลเลาะห์ ในการทำพิธีมาโซะยาวีหรือเข้าสุนัตจะมีสักขีพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งชาวมุสลิมเชื่อว่า ชาวมุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่เข้าสุนัตถือเป็นมุสลิมไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ มุสลิมจึงมักทำพิธีสุนัต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสืบสานธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาอิสลามให้ยุวชนมุสลิมได้เข้าสุนัตอย่างถูกต้องปลอดภัยและแบ่งเบาภาระการเข้าสุนัตของผู้ปกครอง

ร้อยละ 85 ของเยาวชนสามารถรู้รักษ์รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาและแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง

2 เพื่อบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อ ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding)

ร้อยละ 90 ของเยาวชนสามารถลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก

3 เพื่อรณรงค์และสร้างสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

ร้อยละ 85 ของเยาวชนเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค

4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

ร้อยละ 80 ของเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรคได้

5 เพื่อช่วยกันทำนุบำรุงศาสนาและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

ร้อยละ 85 ของเยาวชนรู้จักทำนุบำรุงศาสนาและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมเข้าสุนัตหมู่(1 มี.ค. 2567-20 ก.ย. 2567) 40,900.00              
รวม 40,900.00
1 กิจกรรมเข้าสุนัตหมู่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 40,900.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 เข้าสุนัขหมู้ 40 40,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ยุวชนมุสลิมสืบสานธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาอิสลามในการเข้าสุนัตอย่างถูกต้องปลอดภัย และผู้ปกครองสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเข้าสุนัต
  2. เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อ
  3. เยาวชนห่างไกลอบายมุขและสิ่งเสพติด
  4. สร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อ
  5. สามารถทำนุบำรุงศาสนาและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2567 11:06 น.