กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศพด.บ้านพระม่วง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L1466-03-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระม่วง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2567 - 30 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 พฤษภาคม 2567
งบประมาณ 8,224.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิลาวรรณ สุเหร็น
พี่เลี้ยงโครงการ นายสาธิต โตกำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.326,99.466place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 23 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรค มือ เท้า ปาก นับเป็นโรคที่ระบาดในเด็กโรคหนึ่ง ที่พบทุกปี  โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มเข้าหน้าฝน เป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคนี้สูง พบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จากสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระม่วง ในปี 2566 พบเด็กป่วย จำนวน 7 คน ซึ่งพบได้ว่าในทุกปีจะมีอัตราการป่วยของเด็กด้วยโรคนี้ โดยปกติโรคนี้เป็นโรคที่ไม่น่ากลัว และหายเองได้โดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากเกิดมีโรคแทรกซ้อนอานจะทำให้ก้านสมองอักเสบ และส่งผลให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ซึ่งถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้ติดต่อกันได้ง่าย โดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรงหรือทางอ้อม  โรค มือ เท้า ปาก ไม่มียารักษาจำเพาะ และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน เด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากมีโอกาสติดโรคกันได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระม่วงจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรค มือ เท้า ปากที่ถูกต้อง อันเป็นการลดอัตราการเจ็บป่วยและป้องกันการระบาด ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระม่วง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันเด็กนักเรียน เกี่ยวกับโรค มือ เท้า ปากและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลอดภัยจากโรค มือ เท้า ปาก

ร้อยละ 100 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความปลอดภัยและไม่เป็นโรค มือ เท้าปาก

3 เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรค มือ เท้า ปาก มิให้เกิดการแพร่ระบาดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ร้อยละ 100 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระม่วง สามารถควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ไม่ให้เกิดการระบาดของโรคหรือเกิดโรคซ้ำภายใน 14 วัน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระม่วง มีการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโรค มือ เท้า ปาก ร้อยละ 100
  2. เด็กและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระม่วง ปลอดภัยจากโรคโรค มือ เท้า ปาก ร้อยละ 100
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระม่วง มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก ร้อยละ 100 ไม่ให้เกิดการระบาดของโรคหรือเกิดโรคซ้ำภายใน 14 วัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2567 12:01 น.