กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีตันหยงลุโละ ร่วมใจ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2567
รหัสโครงการ 67 – L3012 – 01 – 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ
วันที่อนุมัติ 29 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 10,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอันวาร์ เบ็ญอิสมาแอล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) สถิติ “วันมะเร็งโลก” พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงเป็นอันดับ ๑ ของคนไทย ต่อเนื่องนานกว่า ๑๓ ปี นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและมีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 336 คน หรือ 122,757 คนต่อปี โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก มีผู้เสียชีวิตวันละ 221 คน หรือคิดเป็น 80,665 คนต่อปี มะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง ๓ อันดับแรก คือ มะเร็งเต้านม(31.4 ต่อแสนประชากร)มะเร็งปากมดลูก (11.7 ต่อแสนประชากร)และ มะเร็งลำไส้ (11.1 ต่อแสนประชากร) พบในสตรีที่มีอายุมากกว่า ๓๕ ปี สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงซึ่งวิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม โดยให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ถ้าได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต และการตรวจคัดกรองค้นหาด้วยตนเอง เพื่อค้นหาความผิดปกติ ทำให้สามารถได้รับการดูแล รักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ในขณะเดียวกัน กลุ่มสตรีสามารถดูแล และป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะแรก ๆ โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุก ๆปี จากการดำเนินงานการตรวจมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60 ปี ทั้งหมด 1,336 คนปี2561 - 2566 ที่ตรวจมะเร็งปากมดลูก แล้ว 83 คน คิดเป็นร้อยละ 6.21ที่ผ่านมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้และพบปัญหาในการดำเนินงานคือประชาชน ยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรคและมีความอายในการมาตรวจ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงลุโละ ตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการใสตรีตันหยงลุโละร่วมใจ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2567 ขึ้น โดยดึงพลังแกนนำ ของประชาชนทุกภาคส่วน เช่น อสม. แกนนำสุขภาพ กลุ่มสตรี มาร่วมดำเนินงานโดยมุ่งหวังความสำเร็จให้สุขภาพของประชาชน เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการโดยเน้นการตรวจHPV Self sampling เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นและสอนการตรวจเต้านม และโรคมะเร็งลำไส้ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกแก่สตรี

1.สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกวิธี  HPV DNA Self sampling  (รายใหม่) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ความครอบคลุม สะสม 5 ปี  ร้อยละ 40
2.สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้สตรี อายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจโรคมะเร็ง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

สตรี  อายุ 30 ปีขึ้นไป  มีความรู้ ความเข้าใจโรคมะเร็ง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม  มะเร็งลำไส้ และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มากกว่า ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้สตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มมีโอกาสรักษาร้อยละ 100

ผู้ที่ตรวจคัดกรองพบว่ามีแนวโน้มจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกได้รับการส่งต่อเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย และรับการรักษาร้อยละ 100

0.00
4 เพื่อกระตุ้นให้กลุ่ม อสม.แกนนำและองค์กรต่างๆร่วมสนับสนุนให้ความสำคัญโรคมะเร็ง และสามารถนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้

เพื่อกระตุ้นให้กลุ่ม อสม.แกนนำและองค์กรต่างๆร่วมสนับสนุนให้ความสำคัญโรคมะเร็ง และสามารถนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้ ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 10,900.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และสอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง จำนวน 2 รุ่นๆละ 50 คน 100 10,900.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมในกลุ่มเป้าหมาย 100 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตัวเองได้เบื้องต้น ถ้าพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการส่งต่อและรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน
2. ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกกลุ่มในตำบลตันหยงลุโละมีความเข้าใจและมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งมากขึ้น 3. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดน้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2567 15:08 น.