กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลสะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L2536-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.ปูโยะ
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,470.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณนา บูแมนิแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7027 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก(ต่อแสนประชากร)
117.15

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลปูโยะ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลปูโยะตั้งแต่ปี2562 - 2566 จำนวน 21 ,1 ,0 , 12 และ 9 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 310.01 , 14.7 , 0.0,177.15และ 132.86 ต่อแสนประชากร ตามลำดับไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยเกิน 50 ต่อแสนประชากรโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต จากการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2567 คาดทั้งประเทศจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 276,945 ราย เสียชีวิต 280 ราย (กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา, 2566 ) และคาดว่าปีนี้จะมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื่อสูงสุดของค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังถึง 3 เท่าตัวขึ้นในเดือนพฤษภาคม และอาจพบสูงสุดในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงสิ้นปีดังนั้น มาตรการการป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในปี 2567 ได้วางมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1. ระยะก่อนการระบาด ตั้งแต่เดือน มกราคม- เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงโอกาสการแพร่โรคเกิดน้อย สามารถป้องกันโรคล่วงหน้า ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1.เก็บบ้าน 2.เก็บขยะ และ 3.เก็บน้ำจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และประชาชนระยะที่ 2. ระยะระบาด เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม เน้นมาตรการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมทั้งด้านการรักษา อุปกรณ์ และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ตลอดจนควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาในพื้นที่ ที่มีการระบาดไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และออกให้ความรู้ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในตำบลปูโยะ ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ จึงได้จัดทำโครงการตำบลสะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยไม่เกิน50ต่อแสนประชากร

117.15 50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของมาตรการ 3 เก็บ + 5 ป กำจัดลูกน้ำยุงลาย

ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลาย  HI, CI, และ BI ไม่เกินค่าที่กำหนด

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ตำบลสะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก(1 ม.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 15,470.00                        
รวม 15,470.00
1 ตำบลสะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 15,470.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม Big cleaning day 150 7,470.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก 0 8,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ดัชนีลูกน้ำยุงลายHI, CI,และ BI ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด 2.อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกไม่เกิน50ต่อแสนประชากร 3.ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและ พร้อมให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2567 09:05 น.