กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดการดื่มสุราและแอลกอฮอล์ ในเยาวชนและประชาชน
รหัสโครงการ 67-L5264-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลทำนบ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,989.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรวิภา กุ้งมณี ประธานสภาเด็กและเยาวชนตำบลทำนบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246,100.506place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2567 1 มี.ค. 2567 9,989.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 9,989.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชนและประชาชนได้ตระหนักถึงโทษพิษภัยของแอลกอฮอล์
70.00
2 ร้อยละของการลดจำนวนผู้ดื่มแอลกอฮอล์รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชน และประชาชน
70.00
3 ร้อยละของการเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายใต้ยุทธศาสตร์นโยบาย แอลกอฮอล์ระดับชาติ และใช้ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮล์ พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 เป็นเครื่องมือนั้น สามารถควบคุมปริมาณผู้ดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างกระโดด แต่เป้าหมายของธุรกิจ แอลกอฮอล์ได้เบนเข็มสู่เยาวชนเพิ่มมากขึ้น ดูได้จากการโฆษณา และกิจกรรม CSR (คว่ทีับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม)ในขณะที่ผู้บริโภคเดิมมีแนวโน้มเป็นบริโภคประจำ และบริโภคหนัก จนส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ การทะลเาะวิวาททำร้ายร่างกาย และยังก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งช่องปาก โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง เกิดหัวใจวายได้ง่าย ฯลฯ ปัญหาในครอบครัว ตลอด ในปี 2563 มีปัจจัยภายนอกทั้งสภาพเศรษฐกิจ ปัญหาโรคระบาดโควิด - 19 มีการประกาศพระราชกำหนดฉุกเฉิน นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ห้ามการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอออล์ ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโรค จึงมีความเป็นไปได้ที่ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไม่สูงขึ้น แต่จากสถานการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเมื่อปัจจัยที่มีผลกระทบผ่านไปปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกับมาสูงอีกครั้ง ทำให้มีความจำเป็นจต้องดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องจริงจัง และดำเนิการในหลายมาตรการควบคู่กัน เช่น การควบคุมการเข้าถึงด้วยการเพิ่มภาษี จนส่งผลกระทบกับราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้นมากพอต่อการลดกำลังซื้อ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ปรับทัศนคติ การขับเคลื่อนกลไกในระดับพื้นที่ดึงภาคีเครือข่าย โยเฉพาะชุมชน เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา รวมถึงการจัดบริการสุขภาพ เพิ่มการคัดกรองเพ่อดึงผู้มีปัญหาเข้าสู่ระบบ สิงเหล่านี้ช่วยลดปริมาณการดื่ม และปัญหาที่มาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ดังนั้นการมีสุขภาพดีถือเป็นลักษณะอันพึงประสงค์ประการแรกของคนไทย แต่สถานการณ์ปัญหาสุขภาพและการสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้สาเหตุเนื่องมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของบุคคล โดยทุกคนจะรู้จักเหล้า เป็นที่มาของปัญหาต่างๆแก่ผู้ดื่ม ทั้งเรื่องของสุขภาพ ทำให้เกิดโรคมากมาย รวมทั้งความรุนแรงในครอบครัว เศรษฐกิจ ชาต อาชญากรรม อุบัติเหตุที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะน้ำเมา การรณรงค์ การสื่อสารเพื่อให้เข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของเหล้ายังคงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้จำนวนนักดื่มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ถือว่าเป็นช่วงวัยที่มีความคิดทันสมัย มีศักยภาพ และมีความเป็นพลเมือง เพียงแต่ไม่มีอำนาจมากพอที่จะแสดงพลังออกมาอย่างเต็มที่ รวมทั้งการใช้ชีวิตท่ามกลางสิ่งเล่าที่อาจนำไปสู่การปฏิบัติในทางที่ผิดได้ การเปิดพื้นที่สร้างโอกาสให้ได้แสดงพลังจะทำให้เด็กและเยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองสร้างสรรค์สิ่งที่ดีได้ เกิดความภาคภูมิใจในการได้ลงมือทำ เป็นเกราะป้องกันที่เข้มแข็งให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพห่างไกลเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ตำบลทำนบนำโดยสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สามารถปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชนและประชาชนได้ตระหนักถึงโทษ พิษภัย และอันตรายต่อสุขภาพในการดื่มแอลกอฮอล์ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้ตระหนักถึงโทษพิษภัยของแอลกอฮอล์

ทำให้เยาวชนและคนในชุมชนตระหนักถึงโทษพิษภัยของแอลกอออล์

70.00 80.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชน และประชาชน

ทำให้ลดจำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหม่ในกลุ่มเด็ก เยาวชน และประชาชน

70.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

ทำให้เพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

70.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 9,989.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา และนำเสนอเพื่อขออนุมัติโตรงการ 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 แต่งตั้งคณะกรรมการ มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรม 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดทำโครงการลดการดื่มสุราและแอลกอฮอล์ ในเยาวชนและประชาชน 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สำรวจเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนในพื้นที่ 0 0.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้โทษ พิษภัยอันตราย โรคที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ 50 9,989.00 -

****สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ****

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้เยาวชนและคนในชุมชนตระหนักถึงโทษพิษภัยของแอลกอฮอล์
  2. ทำให้ลดจำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหม่ในกลุ่มเด็ก เยาวชน และประชาชน
  3. ทำให้เพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2567 10:09 น.