กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ทันเพศวิถี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านน้อย “ปรึกอุทิศ”
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 ธันวาคม 2566 - 15 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 11,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอังศุมาลิน อินทุแสง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปาจรีย์ เนียมจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด 16.04527,100.291191place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ธ.ค. 2566 15 ส.ค. 2567 11,750.00
รวมงบประมาณ 11,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 77 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสังคมไทยรวมทั้งความเป็นอยู่ และส่งผลกระทบต่อผู้เรียนหรือเยาวชนมีการรับรู้ ความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสังคม ทำให้นักเรียนหรือเยาวชนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ อันส่งผลก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ได้แก่การติดต่อสื่อสารทางสังคมออนไลน์ การเลียนแบบเพื่อให้ทันยุค ทันสมัย ที่เน้นวัตถุนิยมมากกว่าจิตใจ จากผลของการเปลี่ยนแปลงไปนี้ทำให้เด็กวัยเรียนและวันรุ่นมีแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรงที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาการตั้งท้องในวัยที่ไม่พร้อม นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข ในการนี้โรงเรียนบ้านน้อย “ปรึกอุทิศ” ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการเพศวิถีศึกษา เพื่อให้นักเรียนเยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิดมีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อนเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศปัญหาพฤติกรรมการแก้ไขและการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศวิถีศึกษา และพัฒนาการ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอย่างสมบูรณ์

 

0.00
2 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนโดยการจัดอบรมรู้ทันเพศวิถีศึกษา ส่งเสริมทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน

 

0.00
3 เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น

 

0.00
4 เพื่อให้นักเรียนรู้จักวิธีการป้องกันตนเอง และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 77 11,750.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 พ.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 พ.ย. 66 จัดหาสถานที่ในการจัดอบรม 0 0.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 จัดอบรมตามโครงการรู้ทันเพศวิถี ตามกำหนดการฝึกอบรม 77 11,750.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ติดตาม สรุปผลการดำเนินงาน และรายงาน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศวิถีศึกษา และพัฒนาการ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอย่างสมบูรณ์
  2. นักเรียนมีภูมิคุ้มกัน รู้ทันเพศวิถีศึกษา มีทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน
  3. ลดปัญหาการเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมในวัยรุ่น
  4. นักเรียนรู้จักวิธีการป้องกันตนเอง และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2567 00:00 น.