กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านน้อยห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านน้อย
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 ธันวาคม 2566 - 15 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 23,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแสงเดือน ทิวาลัย
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปาจรีย์ เนียมจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ธ.ค. 2566 15 ส.ค. 2567 23,570.00
รวมงบประมาณ 23,570.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 780 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุ(อายุตั้งแต่60ปีขึ้นไป)ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว โดยสัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มจากร้อยละ 10.3 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 19.8 ในปี 2568 (สัมฤทธิ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์,2550) ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุหรือ“ภาวะประชากรผู้สูงอายุ”(PopulationAgeing) อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการสูญเสียฟันและสุขภาพช่องปากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุและมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลปัญหาสุขภาพ อีกทั้งปัญหาขาดผู้ดูแลยามเจ็บป่วย การจะให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดีให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อยืดเวลาที่จะเจ็บป่วยเรื้อรังออกไป และในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้หายหรือทุเลาจากการเกิดความพิการหรือทุพพลภาพและยืดเวลาของการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป จากการสำรวจข้อมูลสถานสุขภาพตำบลบ้านน้อยพบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน787คนจำแนกตามประเภทได้ดังนี้ ผู้สูงอายุประเภทที่1 จำนวน 752 คนผู้สูงอายุประเภทที่2 จำนวน 30คนผู้สูงอายุประเภทที่ 3 จำนวน 5คนและมีปัญหาทางด้านสุขภาพ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอันเกิดจากการมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้สูงอายุเป็นชมรมผู้สูงอายุการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน อาทิเช่น การออกกำลังกายร่วมกันเป็นประจำตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนผู้สูงอายุ เพื่อให้มีการพัฒนาสุขภาพกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ซึ่งสอดคล้องกับวาระแห่งชาติเมืองไทยแข็งแรง คนไทยแข็งแรง ประเด็นที่สองส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพแก่พระภิกษุสงฆ์ บุคลากรในวัดและประชาชนที่มาทำบุญทำกิจกรรมต่างๆ ที่วัด ประเด็นที่สาม พัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านซึ่งเป็นการบริการเชิงรุกที่ให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบบูรณาการต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านโดยทีมสหวิชาชีพ จึงเป็นการส่งเสริมศักยภาพของสถาบันครอบครัว อาสาสมัครผู้ดูแลในชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้การส่งเสริมสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุให้อยู่ในครอบครัวอย่างอบอุ่น มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขกายสุขใจ ทั้งในภาวะที่ปกติและภาวะที่เจ็บป่วย พิการหรือทุพพลภาพดังนั้น ทางชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านน้อยจึงได้จัดทำโครงการ บ้านน้อยห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองของผู้สูงอายุ

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพ

 

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี สร้างสัมพันธ์และส่งเสริมสุขภาพใจในผู้สูงอายุ

 

0.00
4 เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 ต.ค. 66 ประชุมกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุเพื่อทบทวนรายชื่อ บทบาท หน้าที่ วิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและจัดทำแผนการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 พ.ย. 66 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำโครงการ 0 0.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ประสานงานกับทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบภาวะผิดปกติตามลำดับขั้นตอน 0 0.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกกำลังกายในผู้สูงอายุตามสภาพร่างกายของตนเอง เช่น รำไม้พลอง โยคะ จักรยานหรือไทเก๊ก 0 0.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ส่งเสริมและเข้าร่วมงานมหกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในระดับอำเภอและจังหวัด 0 0.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ดำเนินการจัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านน้อย โดยมีรายละเอียดของกิจกรรม 780 23,570.00 -
1 ก.ค. 67 - 15 ส.ค. 67 สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
รวม 780 23,570.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ตามศักยภาพของตนไม่เป็นภาระพึ่งพิง
  2. ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  3. มีการขยายเครือข่ายของชมรมผู้สูงอายุทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2567 00:00 น.