กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการจัดการขยะ ลดโรค ลดมลพิษ
รหัสโครงการ 67-L3348-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลลานข่อย
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 47,849.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววิชชุดา ทองเขียว
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำลายทัศนียภาพ ความสยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอันเนื่องมาจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะ ไม่ได้แยกขยะ รวมถึงการจัดการขยะที่ถูกวิธี จากสถานการณ์ขยะมูลฝอย(กรมควบคุมมลพิษ) ปี 2565 พบว่ามีขยะจำนวน 25.70 ล้านตัน โดยมีการนำไปใช้ประโยชน์ 8.80 ล้านตัน กำจัดอย่างถูกต้อง 9.80 ล้านตัน กำจัดไม่ถูกต้อง 7.10 ล้านตัน และมูลฝอยตกค้าง 9.91 ล้านตัน จังหวัดพัทลุง มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 884 ตัน/วัน ขยะมูลฝอยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ 220 ตัน/วัน และขยะมูลฝอยตกค้าง 70,950 ตัน เทศบาลตำบลลานข่อย มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น คำนวณจากอัตราการเกิดมูลฝอย กก./คน/วัน(กรมควบคุมมลพิษ)Xจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ พบว่ามีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น (00.00102X8,558 จำนวน 8.73 ตัน/วัน (ข้อมูลประชากร ณ วันที่ 1 เมษายน 2565) ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 กำหนดบทบาทหน้าที่ของเทศบาล ตามมาตรา 50(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เทศบาลตำบลลานข่อย จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ มีการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น และสามารถจัดการหรือกำจัดขยะที่คัดแยกไม่ถูกวิธี เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากขยะ

1.ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากขยะผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

2 2.เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

2.ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบการแยกขยะผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

3 3.เพื่อสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ

3.ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องขยะกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs(2 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                  
2 กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล โดยการจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน(2 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                  
3 กิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตราย"ขยะอันตรายแลกไข่"(2 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                  
รวม 0.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องขยะกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล โดยการจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 กิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตราย"ขยะอันตรายแลกไข่" กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ และมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ๒.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง ๓.ครัวเรือนมีการจัดการขยะอินทรีย์๔.มีการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน ๕.ขยะอันตรายในชุมชนได้รับการเก็บขนและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ๖.มีการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2567 14:18 น.