กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กเล็ก ศพด.อบต.เกาะเปาะ
รหัสโครงการ 67-L3061-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.เกาะเปาะ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 22,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพรัช นวลจำรัส
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบ ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 27 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้บริโภคอาหารเช้า เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เพื่อน้อมนำตามแนวทางพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตรัสไว้ว่า "เมื่อท้องอิ่มก็ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในชีวิตของเด็ก" และเพื่อแก้ปัญหาเด็กๆที่ต้องไปโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า อันเนื่องจาก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้า ไม่ได้เตรียมอาหารเช้าไว้ให้ เด็กบางรายพ่อแม่ผู้ปกครองทิ้งเงินไว้ให้ แต่เด็กนำไปซื้อขนมกินเล่นแทนที่จะซื้ออาหารหลัก บางครอบครัวเด็กขาดแคลนแหล่งอาหารไม่มีเงินซื้อผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแล การบริโภคอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ จะส่งผลต่อระบบสมองและสมาธิในการเรียนรู้ของเด็ก เด็กบางคนต้องดื่มน้ำให้มากและบ่อยๆ เพื่อประทังความหิว รอจนถึงอาหารกลางวัน การสนับสนุนอาหารเช้าสำหรับเด็กจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เมื่อเด็กได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียนจะทำให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ เด็กมีสมาธิในการเรียนสิ่งต่างๆตลอดทั้งวัน เด็กร่าเริงแจ่มใสไม่งอแงและร่วมกิจกรรมในสถานศึกษาได้อย่างเต็มที่ อีกอย่างเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครอบครัวเด็กที่ยากจน ซื่งผลจากการดำเนินโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับโครงการนี้จากหลายๆที่ได้ข้อมูล คือ พบว่าเด็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห้นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการทั้งทางร่างกาย คือเด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ด้านจิตใจและอารมณ์มีความพร้อมและตอบสนองในการทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น ร่าเริงแจ่มใส ด้านสังคมเด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะการกินอาหารร่วมกัน การแบ่งปัน ที่สำคัญคือ เด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คือกินอาหารเช้ามากขึ้น ผู้ปกครองก็ให้ความใส่ใจเรื่องอาหารเช้ามากขึ้นเช่นกัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.เกาะเปาะ ซึ่งมีจำนวนเด็กทั้งหมด 27 คน และทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.เกาะเปาะ ต้องการเสริมอาหารให้กับเด็กที่ขาดสารอาหาร จำนวน 27 คน จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและดำเนินการจัดโครงการอาหารส่งเสริมโภชนาการเด็กเล็ก ศพด.อบต.เกาะเปาะ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้บริโภคอาหารเช้าเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้บริโภคอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ร้อยละ 80

30.00 85.00
2 2.เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลสุขภาพ อนามัย มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามเกณฑ์

2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการดูแลสุขภาพ อนามัย มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ ร้อยละ 80

30.00 60.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเช้าตลอดให้ติดเป็นนิสัย

3.ร้อยละ 80 เด็กจะรับประทานอาหารเช้าตลอดเป็นนิสัย

30.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 54 22,950.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมส่งเสริมความรู้กับเด็กเรื่องประโยชน์ของอาหารเช้า 27 0.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมเมนูอาหารเช้า 27 22,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับบริโภคอาหารเช้าที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ 2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลสุขภาพ อนามัย มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามเกณฑ์
3.เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารเช้าตลอดให้ติดเป็นนิสัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2567 10:15 น.