กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน สานความห่วงใย สู่ลูกพัฒนาการสมวัย ร่างกายสมส่วน ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอนามัยแม่และเด็กตำบลท่าขมิ้น
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 30,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสังคี สุขโพล้ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าขมิ้น อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี มีความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก เนื่องจากเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใยประสาทนับล้านโครงข่าย เป็นผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำ นอกจากนี้ การเจริญเติบโตด้านร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 - 3 ปี ถือเป็น proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ (Human capital) อีกทั้งยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรคระบบเผาพลาญ ระบบทางเดินอาหาร ของร่างกายให้สมบูรณ์ จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ พบว่า สภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะโภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต มีความสำคัญมากถึงร้อยละ 80 ต่อการกำหนดภาวะสุขภาพไปตลอดชีวิต กรมอนามัยขับเคลื่อนงานด้วยการวางรากฐานตั้งแต่ 1,000 วันแรกของชีวิต โดยให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ทารกในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งให้ผลที่คุ้มค่ามากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ ร่วมกับอาหาร/เครื่องดื่มสะอาดปลอดภัย การดูแลสุขภาพช่องปาก การกอด การเล่น การนอน การอ่านเล่านิทาน เป็นผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ (Full Potential Growth) สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ ระดับเชาวน์ปัญญาดี พัฒนาการเรียนรู้และการเข้าสังคม จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีในอนาคต ทั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่ม ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิตออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) หญิงตั้งครรภ์ (270 วัน) 2) เด็กอายุ 0 - 6 เดือน (180 วัน)3) เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี (550) ซึ่งจะวางระบบการดูแลที่ต่อเนื่องตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแต่ละคนต้องได้รับบริการตามชุดกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จากสถานการณ์ดังกล่าวชมรมอนามัยแม่และเด็กตำบลท่าขมิ้นจึงเห็นความสำคัญของการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการตามความเหมาะสมของมาตรฐานการบริการสาธารณสุขและด้านวัฒนธรรมจึงได้จัดทำ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน สานความห่วงใย สู่ลูกพัฒนาการสมวัย ร่างกายสมส่วนปี2566 ขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเริ่มตั้งแต่การแนะนำให้ความพร้อมของการมีบุตรในคู่สมรสที่มีอายุยังน้อย การดูแลขณะตั้งครรภ์ครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อมุ่งหวังให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่สมวัย เชาว์ปัญญาดี ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามมาตรฐานการให้บริการฝากครรภ์คุณภาพขององค์การอนามัยลดภาวะซีดระหว่างตั้งครรภ์เตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธ์ 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีโภชนาการสมส่วน พัฒนาการสมวัยและปราศจากฟันผุ 3. เพื่อให้แกนนำตำบลนมแม่และงานอนามัยแม่และเด็ก สามารถให้ความรู้และคำแนะนำเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพการติดตามเยี่ยมหลังคลอดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6เดือน และป้องกันภาวะซีด ในเด็ก 6 เดือน -5 ปีส่งเสริมการใช้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก 4. เพื่อให้แกนนำตำบลนมแม่และงานอนามัยแม่และเด็ก สามารถให้ความรู้และคำแนะนำในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี เรื่องโภชนาการเด็กและพัฒนาการเด็ก 0- 5 ปีสุภาพช่องปากตลอดถึงการใช้แพทย์แผนไทยกับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดส่งต่อให้บริการทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,710.00 0 0.00
1 พ.ย. 65 - 31 ส.ค. 66 แกนนำตำบลนมแม่และงานอนามัยแม่และเด็ก ให้ความรู้คำแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์เพื่อจ่ายยาโฟเลทและหญิงที่เริ่มตั้งครรภ์ให้มารับการฝากครรภ์ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ เพื่อส่งเสริมให้ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์คุณภาพและลดภาวะซีดขณะต 0 0.00 -
1 พ.ย. 65 - 29 ก.ย. 66 แกนนำตำบลนมแม่และงานอนามัยแม่และเด็ก ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ ให้รับบริการฝากครรภ์ตามนัดเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ส่งเสริมให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย 0 0.00 -
1 พ.ย. 65 - 31 ส.ค. 66 แกนนำตำบลนมแม่และงานอนามัยแม่และเด็ก ติดตามให้คำแนะนำและติดตามเยี่ยมดูแลหญิงหลังคลอดและทารกหลังคลอด 0 0.00 -
1 พ.ย. 65 - 31 ส.ค. 66 แกนนำตำบลนมแม่และงานอนามัยแม่และเด็ก ติดตามส่งเสริมการตรวจพัฒนาการเด็กวัดและประเมินผลภาวะโภชนาการและตรวจสุขภาพช่องปากทาเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ในกลุ่มอายุ 0 – 5 ปี ทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยหมุนเวียนกันมาเดือนละ 1 หมู่ 0 0.00 -
2 - 31 ม.ค. 66 อบรมฟื้นฟูเชิงปฏิบัติการ แกนนำตำบลนมแม่และงานอนามัยแม่และเด็ก เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและติดตามเยี่ยมหลังคลอด โภชนาการเด็กพัฒนาการเด็ก สุขภาพช่องปากและการแพทย์แผนไทย 0 30,710.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามมาตรฐานการให้บริการฝากครรภ์แนวใหม่ขององค์การอนามัย
  2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการและมีพัฒนาการสมวัย
  3. แกนนำตำบลนมแม่และงานอนามัยแม่และเด็กสามารถให้คำแนะนำเรื่องภาวะโภชนาการพัฒนาการสงสัยล่าช้าและการใช้แพทย์แผนไทยกับหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2566 00:00 น.