กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลแม่ลาน
รหัสโครงการ 67-L3020-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแม่ลาน
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาฟีฟะห์ อาแวกือจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (30,160.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรค และอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30 - 69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง (กรมควบคุมโรค, 2562) สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก“กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน
  ในเขตพื้นที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 64 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 117 คน ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัดรวมทั้งผักและ ผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น การดำเนินงานด้านสาธารณสุขในชุมชน จำเป็นต้องมีเครือข่ายสุขภาพที่สำคัญ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน หรือ อสม.ที่ให้บริการแก่ชุมชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน อสม. คือ ประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีใจรักในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สมัครใจ และเต็มใจ ที่จะช่วยงานในชุมชนเป็นที่ยอมรับนับถือของ ชาวบ้านปฏิบัติงานด้วยความเสียสละซึ่งต้องผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอและจะต้องมีการ พัฒนาด้านทักษะความรู้ให้ทันต่อสภาพปัญหาด้านสาธารณสุข ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้นตลอดจนเป็นผู้นำในการสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถ จัดระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพชุมชนได้อย่างเหมาะสม ด้วยชุมชนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)และองค์กรต่างๆ
ดังนั้น เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว และได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ที่ดีขึ้นจึงได้จัดทำโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ "รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค" ตามหลัก 3อ2ส เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง

ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง

90.00
2 เพื่อให้อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงลดลง
  1. ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลงจากปีที่ผ่านมา≥5 %
  2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจากปีที่ผ่านมา≥2.5 %
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 230 30,160.00 0 0.00
29 เม.ย. 67 ประชุมเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมกับอสม. เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย อสม. จำนวน 41 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 9 คน 50 1,500.00 -
15 พ.ค. 67 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จัดกิจกรรมเวียนฐาน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค 70 16,360.00 -
19 มิ.ย. 67 - 24 ก.ค. 67 ติดตามเยี่ยมบ้านวัดความดันโลหิตสูง 2 ครั้ง พร้อมประชุมสรุปผลการติดตาม อสม. จำนวน 41 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 9 คน 50 10,500.00 -
7 ส.ค. 67 ประชุมถอดบทเรียนกับ อสม. และผู้นำชุมชน ในการดูแล ตามบริบทหมู่บ้าน อสม. จำนวน 41 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 9 คน จนท.อบต จำนวน 5 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน 60 1,800.00 -

ขั้นเตรียมการ
1.จัดประชุมชี้แจงโครงการให้แก่คณะทำงาน
2.วางแผนและกำหนดรูปแบบกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
1.ประชุมผู้ดำเนินการโครงการทุกฝ่าย เพื่อเตรียมดำเนินกิจกรรม
2.ดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมแบ่งเป็นดังนี้
2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการ
2.2 แกนนำอสม.ทั้งหมดในเขตรับผิดชอบจับคู่กับกลุ่มเป้าหมายในการช่วยดูแลสุขภาพ
2.3 ทำข้อตกลงร่วมกัน มอบหมายภารกิจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการกระตุ้นเตือนการดูแลสุขภาพ
2.4 จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 3 อ 2 ส และมีการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นที่ปรึกษาให้แก่กัน
2.5 จัดทำแบบบันทึกสุขภาพ
2.6 เตรียมกลุ่มเป้าหมาย โดยการประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน วัดรอบเอว
3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามโครงการ
- ประเมินโครงการ ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
- ประเมินสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกาย ตรวจความดันโลหิต ประเมิน CVD Risk ในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอสม.ที่เข้าร่วมโครงการ เปรียบเทียบก่อนและหลังร่วมกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
2 ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
3 ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
4 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2567 11:21 น.