กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขลิบเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3060-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2567 - 2 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 เมษายน 2567
งบประมาณ 75,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนารีมาศ เจ๊ะสนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.659,101.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็ก เยาวชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (คน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

3.หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     การขลิบ (Circumcision) คือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นการผ่าตัดเล็กที่ทำกันมาบ่อยมาก จนเกือบถือว่าเป็นเรื่องปกติวิสัย ทั้งนี้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในบางกลุ่มชนเป็นสิ่งปกติวิสัย เช่น ชาวยิว ที่จะขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่แรกคลอด และชาวมุสลิมที่ขลิบในวัยเด็ก แต่ในประชาชนทั่วไปมีความเชื่อว่าการขลิบหนังหุ้มปลายจะทำให้สามารถดูแลทำความสะอาดได้ดีขึ้น ป้องกันการติดโรคบางฃนิด และป้องกันมะเร็ง เป็นต้น ในบทความตามวิชาการการแพทย์มีการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน ที่ได้ศึกษาพัฒนาการของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เป็นอวัยวะที่มีอยู่ตามปกติ ปกคลุมส่วนปลายของอวัยเพศอยู่ เชื่อกันว่าทำหน้าที่ในการปกป้องส่วนปลายของอวัยวะเพศ และมีหน้าที่ในการรับรู้ความรู้สึกโดยเฉพาะ เมื่อมีการกระตุ้นทางเพศ เพราะมีใยประสาทที่มีความไวเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ หลังคลอดหนังหุ้มปลายจะปกปิดคลุมปลายของอวัยเพศจนมิด และจะค่อยๆ เผยออกจนสามารถมองเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะได้ แต่อย่างไรก็ดีเด็กอายุ 3 ขวบ จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิด แต่ยังสามารถถ่ายปัสสาวะได้ เมื่อติดตามมาจนกระทั่งอายุ 6 ขวบ จะมีประมาณร้อยละ 8 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิดและเหลือเพียงร้อยละ 1 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิดจนถึงอายุ 16 ปี    ถึงอย่างไรก็ดีเมื่อหนังหุ้มปลายเปิดใหม่ๆ จะยังไม่สามารถเปิดได้หมด เพราะยังมีเยื่อบางๆ ติดยึดอยู่กับปลายอวัยวะเพศ การขลิบหนังหุ้มปลายองคชาติ หรือ Circumcision คือการตัดหนังบริเวณด้านหน้าขององคชาติออก จุดประสงค์เพื่อให้สามารถรูดออกทำความสะอาดบริเวณบริเวณด้านในขององคชาติได้ ซึ่งผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งสร้างสารที่เรียกว่าขี้เปียก หรือ Smagma มีลักษณะเป็นขุยชาว ๆ คล้ายขี้ไคลขึ้นมาและการที่ไม่สามารถล้างออก จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อเรื้อรัง รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่าวมะเร็งที่องคชาติได้ และจากการเก็บข้อมุลพบว่าผู้ป่วยมะเร็งองคชาติเกือบทั้งหมด ไม่สามารถรูดหนังออกเพื่อทำความสะอาดได้ ผู้ชายที่เป็นมะเร็งที่องคชาติปัจจุบันพบได้บ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี ดูแลสุขภาพไม่ค่อยดี และที่สำคัญมักจะมีหนังหุ้มปลายไม่เปิด ดังนั้น ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลาย จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ชายโดยตรง ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล ละหาร จึงได้จัดทำโครงการขลิบเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนชาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ชลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) ที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (Bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ

เด็กและเยาวชนได้ชลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision)  ที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ ลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (Bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ

50.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (Circumcision)

เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (Circumcision)

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณ
1 กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพหลังการขลิบ(2 พ.ค. 2567-2 พ.ค. 2567) 12,900.00
2 กิจกรรม ทำหัตถกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)(2 พ.ค. 2567-2 พ.ค. 2567) 62,500.00
รวม 75,400.00
1 กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพหลังการขลิบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 12,900.00 0 0.00
2 พ.ค. 67 อบรมให้ความรู้ในการดูลแสุขภาพหลังการขลิบ การป้องกันโรคและการเกิดโรคติดเชื้อให้แก่เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง 120 12,900.00 -
2 กิจกรรม ทำหัตถกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 62,500.00 0 0.00
2 พ.ค. 67 กิจกรรม ทำหัตถกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) 50 62,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) ถูกต้องตามหลักการแพทย์ สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (Bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ
    1. เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพหลังการขลิบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2567 11:21 น.