กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 67-L1521-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเสใหญ่
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 7,340.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชาติชาย สุทธิธรรมานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 7,340.00
รวมงบประมาณ 7,340.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)ระบุว่าโครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจากประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย โดยในปี 2565 นี้ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”ซึ่งสถานการณ์ผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 6 ปี 2563-2565 พบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ร้อยละ15.37, 15.82 และ 16.39 ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่าระดับประเทศ (ร้อยละ 17.35, 17.81 และ 18.5) จากการคัดกรองผู้สูงอายุจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันปีงบประมาณ 2562-2564 เขตสุขภาพที่ ๑๒ ผลจากการคัดกรองฯ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 97.62, 97.34 และ 97.55 รองลงมาเป็นผู้สูงอายุติดบ้านร้อยละ 1.73, 2.07 และ 1.88 และกลุ่มติดเตียงร้อยละ 0.66, 0.59 และ 0.57 ตามลำดับ (ข้อมูล HDC ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2565) ซึ่งวิธีการดูแลผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างกัน ต้องใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรสาธารณสุข พยาบาลผู้ดูแลใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ในการพิจารณารูปแบบการดูแลที่สอดคล้องกับสุขภาพ วิถีชีวิต เศรษฐานะของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล โครงสร้างประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศ เนื่องจากการลดลงของจำนวนและสัดส่วนของประชากรวัยแรงงาน จะกระทบศักยภาพการผลิต นอกจากนี้ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และมีโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเสื่อมถอยของร่างกาย ส่งผลให้รายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยร่วมที่สำคัญ 2 ปัจจัย คือ ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพที่สูงขึ้นตามอายุ และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ “ก่อนการเสียชีวิต” นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุไทยร้อยละ 95 มีความเจ็บป่วยด้วยโรคหรือมีปัญหาสุขภาพ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า พิการและติดบ้านติดเตียง ในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะทำให้เกิดผลกระทบในเรื่องเศรษฐกิจมากพอควร รัฐบาลจึงได้มีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ 2546 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนตามกฎหมาย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี      โดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า “ภายในทศวรรษต่อไป    คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น และภายใน 10 ปี อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า 85 ปี อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 75 ปี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่    พึงประสงค์สำหรับวัยผู้สูงอายุ คือ 1.กิจกรรมทางกายระดับปานกลาง สะสม 150 นาที/สัปดาห์ 2.การรับประทาน  ผักสด ผลไม้สด เป็นประจำ 3.การดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว 4.การไม่สูบบุหรี่ /ไม่สูบยาเส้น 5.การไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่นสุรา เบียร์ ยาดองเหล้า 6.มีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย 7.นอนหลับบอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง 8.การดูแลสุขภาพช่องปาก จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ ๑๒ ปี 2565 พบว่า ผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ ๑๒ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ครบ ๙ ด้าน ร้อยละ 67.55 (ประเทศ ร้อยละ 73.16) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า พฤติกรรมพึงประสงค์ที่น้อยที่สุด ได้แก่ มีกิจกรรม  ทางกายระดับปานกลาง สะสม 150 นาที/สัปดาห์ ร้อยละ 78.87 การรับประทานผักสด ผลไม้สดเป็นประจำ ร้อยละ 82.6 และ นอนหลับบอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง ร้อยละ 84.73 ตามลำดับ นอกจากปัญหาด้านสุขภาพโรคเรื้อรังที่พบในผู้สูงอายุ สาเหตุจากกรรมพันธุ์ วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่สำคัญด้านสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องจากพบผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังร้อยละ 11 และร้อยละ 21 อาศัยอยู่กับคู่สมรสกัน 2 คน ทำให้ผู้สูงอายุขาดโอกาสได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากคนในครอบครัว อีกทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มยากจนถึงร้อยละ 34.3 แม้จะได้รับสวัสดิการจากรัฐ เช่น เบี้ยยังชีพ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ อีกทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อม ที่พบผู้สูงอายุที่เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มกว่า 1 พันคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุภายในบ้าน (เอกสารการจัดทำแผนปฏิบัติการ กรมอนามัย ปีงบประมาณ 2566) ดังนั้น ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคสังคม เอกชน ภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องในการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุได้
จากปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเสใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 256๗ ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ และการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ลดค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพ ผู้สูงอายุมีทักษะกาย ใจ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) มีสุขภาวะที่ดี รองรับสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ๒.เพื่อให้แกนนำสุขภาพและผู้สูงอายุได้รับความรู้การเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง 2.ตัวชี้วัด 1. ร้อยละ ๘0 ของผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ 2. ร้อยละ ๘0 ของแกนนำสุขภาพและผู้สูงอายุได้รับความรู้การเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง
  1. ร้อยละ ๘0 ของผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  2. ร้อยละ ๘0 ของแกนนำสุขภาพและผู้สูงอายุได้รับความรู้การเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 7,340.00 0 0.00
14 มี.ค. 67 1.เขียนโครงการ 2.ประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 5.เตรียมเอกสาร 6.ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการที่กำหนด 100 7,340.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุได้รับการได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
๒. แกนนำสุขภาพและผู้สูงอายุได้รับความรู้การเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเองได้ ๓. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2567 11:38 น.