กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโครงการผู้สูงอายุ สุขภาพดี กายใจ สังคม ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าขมิ้น
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 18,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสิทธิ์ แสงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าขมิ้น อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่ในภาวะสังคมผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนโครงสร้างประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตไม่กี่ปีข้างหน้าสังคมไทยก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ถึงเวลานั้นประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเมื่อการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ประชากรที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ และประชากรที่อยู่ในวัยผู้สูงอายุต้องเร่งตระหนักโดยให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เมื่อผู้สูงอายุในสังคมมีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพ ความพร้อมที่จะช่วยกันตนเอง ชุมชนและสังคมก็จะสามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้นจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายคือตัวผู้สูงอายุและผู้พิการเอง รวมทั้งผู้ดูแลผู้สูงอายุผู้พิการ และสมาชิกที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ให้มีความรู้ความเข้าใจในงานสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องของการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสุขภาพ และการดูแลรักษาสุขภาพด้วย จากข้อมูลประชากรทะเบียนราษฎร์ ปี2565 ของตำบลท่าขมิ้น จำนวนประชากรทั้งหมด 5,597คน มีผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของตำบลท่าขมิ้นจำนวนผู้สูงอายุเป็นชาย 543คน หญิง 617 คน รวม 1,160 คน คิดเป็นร้อยละ 20.73 ซึ่งถือว่าตำบลท่าขมิ้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าขมิ้นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาต่างๆเหล่านี้ จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุ สุขภาพดี กายใจ สังคมปี 2566 เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการโดยจะจัดการติดตามเยี่ยมบ้าน รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ/ผู้พิการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างดีและเหมาะสม สามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 ผู้สูงอายุได้รับความรู้และดูแลตัวเองได้ในเรื่องสมุนไพรทางเลือกในการแก้ปัญหาการเจ็บป่วยแทนการใช้ยาแก่ผู้สูงอายุ 1.2 เพื่อติดตามเยี่ยมภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการ 1.3 เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพใจและสังคม ในผู้สูงอายุ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.1 ผู้สูงอายุได้รับความรู้และดูแลตัวเองได้ในเรื่องสมุนไพรทางเลือกในการแก้ปัญหาการเจ็บป่วยแทนการใช้ยาแก่ผู้สูงอายุ 1.2 เพื่อติดตามเยี่ยมภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการ 1.3 เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพใจและสังคม ในผู้สูงอายุ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 30 พ.ย. 65 สำรวจคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุ(ADL) และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ 0.00 -
1 พ.ย. 65 - 31 ส.ค. 66 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกกำลังกายในผู้สูงอายุตามสภาพร่างกายของตนเองและเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าขมิ้น 0.00 -
2 - 31 ม.ค. 66 ประชุมเชิงปฏิบัติการชมรมผู้สูงอายุและให้ความรู้เรื่องเรื่องสมุนไพรทางเลือกในการแก้ปัญหาการเจ็บป่วยแทนการใช้ยาแก่ผู้สูงอายุ 18,550.00 -
3 - 31 ก.ค. 66 เยี่ยมช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อยู่ในระดับติดบ้านและติดเตียง ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว โดยทีมสหวิชาชีพ นักบริบาล ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และชมรมผู้สูงอายุ 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 ผู้สูงอายุได้รับความรู้และดูแลตัวเองได้ มีความเข้าใจในการใช้สมุนไพรทางเลือกในการแก้ปัญหาการเจ็บป่วยแทนการใช้ยาในกิจวัตรประจำวันของตนเองได้ 7.2 ผู้สูงอายุมีความรู้และเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามศักยภาพของตนเอง 7.3 มีการติดตามเยี่ยมภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการอย่างต่อเนื่อง 7.4 ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินงานและกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2566 00:00 น.