กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง


“ โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566 ”

ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

หัวหน้าโครงการ
นายณรงค์ แก้วลา

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566

ที่อยู่ ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จังหวัด พิจิตร

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 14 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดพิจิตร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 14 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 47,906.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง วัยเด็กและแรงงานลดลง เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2564 (สัดส่วนของประชากรอายุ60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากร)และจะกลายเป็นสังคมสูงอายุสุดยอดในปีพ.ศ.2574 (สัดส่วนของประชากรอายุ60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ28 ของประชากร) โดยผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 15 เป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงบางส่วนหรือทั้งหมด และผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 1.5 เป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงทั้งหมด ซึ่งจะ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างสูง โดยจะมีประชากรวัยทำงานเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจน้อยลง ในขณะที่มีประชากรสูงวัยซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงขึ้น (แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2566-2569)จากข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุตำบลทะนง 5 ปีย้อนหลัง (2561-2565) จากฐานข้อมูล HDC พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดดังนี้ (1,331/6,587) (1,266/5,004) (1,309/4,966) (1,369/5,144) (1,353/5,370) ซึ่งมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 20.21 , 25.84 , 26.40 , 26.57 และ 25.19 ตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2561 ถือว่าตำบลทะนงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึงมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด จากการคัดกรองADL จำนวน 1,353 คนสามารถแบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลคือผู้สูงอายุติดสังคม 1,332 คนคิดเป็นร้อยละ 98.34 ผู้สูงอายุติดบ้าน 16 รายคิดเป็นร้อยละ 1.26 ผู้สูงอายุติดเตียง 5 รายคิดเป็นร้อยละ 0.40 ของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมดปัญหาที่ตามมากับสังคมผู้สูงอายุคือการขาดผู้ดูแลที่มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการความยากจนของครอบครัวที่ดูแลผู้สูงอายุและโรคภัยที่มักเกิดกับผู้สูงอายุเนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพเช่นโรคเรื้อรังโรคข้อเข่าเสื่อมปัญหาพัดตกหกล้มโรคซึมเศร้าการมองเห็นหรือการได้ยินที่ลดลงเป็นต้นในภาวะสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน ชมรมผู้สูงอายุและผู้พิการร่มไทรทองตำบลทะนงได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566 ขึ้นโดยจัดกิจกรรมเพื่อสร้างศักยภาพในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของชมรมผู้สูงอายุและผู้พิการร่มไทรทองตำบลทะนง เพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์และสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญ โดยใช้กระบวนการ สร้างคุณค่า ภูมิปัญญาที่คงมีอยู่ในตัวผู้สูงอายุในพื้นที่ รวมทั้งและเปิดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ยกระดับคุณค่า ของ คลังภูมิปัญญา พัฒนาต่อยอดกิจกรรมสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในพื้นที่ ภูมิปัญญาเหล่านี้จึงเป็นรากฐานในการหล่อหลอมคนในชุมชนนำพาให้สังคมผู้สูงอายุอยู่ร่วมกันภายใต้อุดมการณ์สูงวัยห่วงใยซึ่งกันและกัน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 2 คกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อหาปัญหาและโรคที่พบบ่อย และประเมินสมรรถนะ
  2. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการ และผู้ยากไร้
  3. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุร่มไทรทองทุก 3 เดือน (4ครั้ง/ปี) และประชุมใหญ่ สามัญ 1 ครั้ง/ปี
  4. กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้ พระภิกษุ สามเณรและแกนนำ อสม.
  5. กิจกรรมที่ 3 โรงเรียนผู้สูงอายุโดยบูรณาการร่วมกับการแพทย์แผนไทย และงานทันตกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,353
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มคณะกรรมการและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุร่มไทรทอง 250
กลุ่มนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ 50
กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการ และผู้ยากไร้ 60
กลุ่มพระภิกษุและสามเณรและแกนนำ อสม. 60

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คระกรรมการชมรมผู้สูงอายุมีเวทีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ 2.ผู้สูงอายุในตำบลทะนงได้รับการเยี่ยมและประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันประเมินข้อเข่าเสื่อมประเมินภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าทุกคน 3.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาว 4.พระภิกษุสามเณรตระหนักรู้การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 2 คกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อหาปัญหาและโรคที่พบบ่อย และประเมินสมรรถนะ

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป้นการคัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุตามเกณฑ์ของกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  ตามแบประเมินสุขภาพผู้สูงอายุได้แก่  คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  คัดกรอง CVD  คัดกรองสุขภาพช่องปาก  คัดกรองสมองเสื่อมAMT  คัดกรองซึมเศร้า2Q  คัดกรองข้อเข่า  คัดกรองภาวะหกล้ม  คัดกรอง ADL  คัดกรองBMI  คัดกรอง 9 ด้าน  รวมถึง 8 พฤติกรรมที่พึงประสงค์  โดยผลจากการคัดกรองทั้งหมด  นำมาวิเคราะห์และจัดกิจกรรมการดูแลเพื่อป้องกันรักษา  และส่งต่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองและมีทะเบียนแยกกลุ่มเป้าหมาย  พร้อมทั้งผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

 

0 0

2. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการ และผู้ยากไร้

วันที่ 13 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป้นการออกเยี่ยมบ้านโดยคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุร่มไทรทองร่วมกับผู้นำชุมชน  เพื่อเป็นการติดตามประเมินสภาพด้านร่างกาย  จิดใจและที่อยู่อาศัย  เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไข  พัฒนาปรับปรุง  ช่วยเหลือด้านสุขภาพกาย จิต  และปรับปรุง  ช่วยเหลือด้านสุขภาพกาย  จิต  และปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่สำคัญ  อันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว  พร้อมทั้งมอบของบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุติดเตียง  ผู้พิการ  ผู้ยากไร้  มีสุขภาพทางกาย  จิตใจที่ดีขึ้น  มีความสดใส ยิ้มแย้ม  มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการ และผู้ยากไร้

 

0 0

3. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุร่มไทรทองทุก 3 เดือน (4ครั้ง/ปี) และประชุมใหญ่ สามัญ 1 ครั้ง/ปี

วันที่ 14 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการดำเนินกิจกรรมชี้แจ้งเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ  เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สุงอายุตำบลทะนง  ว่าจะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2566  และเป็นการคืนข้อมูล  ติดตามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ  พร้อมทั้งช่วยกันระดมความคิดในการหาปัญหา  และแนวทางการแก้ปัญหาของผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พบว่าปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญมีดังนี้  กลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม คือเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม  สมองเสื่อม  โรคเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน  ติดเตียง  พบภาวะพึ่งพิงจากโรคเรื้อรัง  โรคหลอดเหลือดในสมอง การหกล้มจากการช่วยเหลือตนเองได้น้อย กลุ่มผู้พิการ  ผู้ยากไร้  พบปัญหาด้านโภชนาการ  และปัญหาด้านสุขภาพจิต กลุ่มพระสงฆ์และสามเณร  พบว่าเป็นโรคเรื้อรัง

 

0 0

4. กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้ พระภิกษุ สามเณรและแกนนำ อสม.

วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ  และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มพระสงฆ์  การตรวจร่างกายด้วยตนเองพร้อมประเมินผล  มีการจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจสัญญาณชีพประจำวัดพร้อมอบรมวิธีการใช้  การแปลผล  ร่วมกับแกนนำ  อสม.ที่ดูแลพระสงฆ์  หลักโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์  การออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพบูรณาการร่วมกับการแพทย์แผนไทย  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น  และการช่วยเหลือผู้หมดสติฟื้นคืนชีพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พระสงฆ์และสามเณร  สามารถตรวจสอบสุขภาพร่างกายตนเองและประเมินสุขภาพเบื้องตนได้  มีความเข้าใช้การใช้เครื่องวัดชีพจร  มีความรู้ด้านโภชนาการ  และวิธีการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่เหมาะสม

 

0 0

5. กิจกรรมที่ 3 โรงเรียนผู้สูงอายุโดยบูรณาการร่วมกับการแพทย์แผนไทย และงานทันตกรรม

วันที่ 27 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุโดยเน้นเรื่องการป้องกันภาวะพลัดตกหกล้ม  สมองเสื่อม  ด้วยการออกกำลังกาย  และทำกิจกรรมฝึกสมอง พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเขียนแผนการดูแลสุขภาพของตนเองใน 6 ด้าน  มีการสอนการใช้งานแอปพลิเคชั่นบลูบุ๊ค สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ  ในด้านสุขภาพของตนเองผ่านแอปพลิเคชั่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุสามารถเขียนแผนการดูแลสุขภาพของตนเองใน  6 ด้านได้ และสามารถนำมาใช้ในการดูแลตนเองได้

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1773
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,353
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
กลุ่มคณะกรรมการและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุร่มไทรทอง 250
กลุ่มนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ 50
กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการ และผู้ยากไร้ 60
กลุ่มพระภิกษุและสามเณรและแกนนำ อสม. 60

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 2  คกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ  เพื่อหาปัญหาและโรคที่พบบ่อย  และประเมินสมรรถนะ (2) กิจกรรมที่ 4  กิจกรรมออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง  ผู้พิการ  และผู้ยากไร้ (3) กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุร่มไทรทองทุก 3 เดือน (4ครั้ง/ปี) และประชุมใหญ่ สามัญ 1 ครั้ง/ปี (4) กิจกรรมที่ 5  อบรมให้ความรู้  พระภิกษุ  สามเณรและแกนนำ  อสม. (5) กิจกรรมที่ 3 โรงเรียนผู้สูงอายุโดยบูรณาการร่วมกับการแพทย์แผนไทย และงานทันตกรรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566 จังหวัด พิจิตร

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายณรงค์ แก้วลา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด