กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างเสริมสุขภาพอนามัยห่วงใยแม่ ดูแลลูก ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3348-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านทุ่งชุมพล
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร ยิ้มมุด
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็ก เป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน อีกทั้งนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้การดำเนินงานอนามัยแม่เด็กเป็นนโยบายสำคัญซึ่งมีเป้าหมายคือ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย การคลอดไม่ใช่แค่เกิด แต่เป็นเรื่องของ “สุขภาพ” ของชีวิตใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการในอนาคตทั้งด้าน IQ, EQ เรื่องแทรกซ้อนทางด้านสังคมที่เกิดขึ้น เนื่องจากคนไทยยังขาดความรอบรู้เรื่องการตั้งครรภ์คุณภาพ โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในแม่วัยใส ในวัยที่ไม่พร้อมยังคงเป็นปัญหาสำคัญนำไปสู่การตั้งครรภ์และการคลอดที่ด้อยคุณภาพ การเยี่ยมบ้านโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ในทุกระยะของการตั้งครรภ์จะช่วยป้องกันและลดปัญหาด้านสุขภาพซึ่งจะกลายเป็นผลกระทบต่อมารดา ทารกและครอบครัวได้ จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖6 เฉลี่ยการคลอดมีชีพปีละ ๓๐ – ๔๐ ราย พบว่าการมาฝากครรภ์เร็ว คืออายุครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งส่งผลให้การฝากครรภ์ไม่ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ส่งผลให้การตรวจสุขภาพการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนและการบำรุงสุขภาพทารกในครรภ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ จากสาเหตุเช่น ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ และไม่แน่ใจว่าตนเองจะฝากครรภ์ที่ไหน ต่อมาคือมารดามีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม การตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี เจออย่างน้อยปีละ ๑ รายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นต้นปัญหาสุดท้าย คือ มารดาหลังคลอดไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งชุมพล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็กให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมแม่ดูแลลูก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖7 ขึ้น เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ให้เป็นการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และดูแลหลังคลอดทั้งมารดาและทารก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมทักษะแกนนำอสม./หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์จำนวน 50 รายให้ความรู้ด้านสุขภาวะทางการตั้งครรภ์สามารถนำโปรแกรมสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์มาใช้ได้

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ 2.ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
3.ร้อยละ 70 ของหญิงหลังคลอดและลูก ได้รับการเยี่ยมดูแลหลังคลอด ตามเกณฑ์ จำนวน 3 ครั้ง 4.ร้อยละ 80 ของทารกหลังคลอดได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
2 กิจกรรมออกเยี่ยมติดตามประเมินเชิงรุก(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
รวม 0.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมออกเยี่ยมติดตามประเมินเชิงรุก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกได้อย่างถูกต้องและสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นประเมินภาวะผิดปกติ และส่งต่อได้ทันท่วงที
2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที 3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตลอดการตั้งครรภ์ มีความรู้ในการดูแลตนเอง และมีช่องทางในการขอความช่วยเหลือ
และเป็นการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ 4.มารดาและทารกหลังคลอดมีความรู้ทักษะในการดูแลตนเองและลูก ลดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2567 14:12 น.