กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตำบลแว้ง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 7 กรกฎาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนอรีมา เลาะมาอะ , นางนาตือเราะห์ รายะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดในสตรีไทย ปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นในโรคมะเร็งเต้านม เสียชีวิต 17.2 ต่อประชากร 100,000 คน ในโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต 19.5 ต่อประชากร 100,000 คน ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วย และอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกลดลง
จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมปี2558 ของตำบลแว้ง พบว่าสตรีอายุ 30-70 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจเต้านมร้อยละ 87.24และสตรีอายุ30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 18.87 ส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการรวมเจ้าหน้าที่ในต่างพื้นที่เข้ามาทำงานร่วมกันการสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริมความรู้แก่กลุ่มแกนนำ และกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผลการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รูปแบบการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมที่สุดต่อไปโรงพยาบาลแว้ง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เชิงรุกในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมาย

 

2 2.เพื่อสนับสนุนให้ แกนนำและสตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีทักษะในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และสามารถนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้

 

3 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมาย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อสนับสนุนให้ แกนนำและสตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีทักษะในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และสามารถนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ขั้นเตรียม 1.1 สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 1.2 ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่และ อสม 1.3 เขียนโครงการเพื่ออนุมัติ 1.4 เจ้าหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตรับผิดชอบ 2.ขั้นดำเนินงาน 2.1 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆเช่น แผ่นพับ ไวนิล 2.2 ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่ อสมและกลุ่มเป้าหมาย 2.3 เจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม ติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 3.ขั้นติดตามและรายงานผล 3.1 ลงข้อมูลในโปรแกรม Cxs2010 และส่งข้อมูล แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.2 แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้รับบริการ 3.3 ในรายที่ผลผิดปกติ ส่งแพทย์เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง 3.4 ประเมินผลโครงการ สรุปและรายงานผลโครงการส่งองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ 30 - 60 ปี ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการ 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30 -60 ปีที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน 3.อสม.และสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 70 ปีมีความรู้ 4.ลดอัตราป่วย/ตาย โรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2559 11:40 น.