กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆที่เป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลทะนง ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังเคลื่อนที่เร็ว
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 30,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมคิด ปั้นกันอินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 30,180.00
รวมงบประมาณ 30,180.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อโรค หรือพิษของเชื้อโรค ซึ่งสามารถแพร่ได้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมมาสู่คน โรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ทะนง ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันมี 2 โรคที่สำคัญคือโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 [ Coronavirus Disease 2019 (COVID 19)] และโรคไข้เลือดออก สถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 [ Coronavirus Disease 2019 (COVID 19)] ในพื้นที่ตำบลทะนงในปี 2565 พบผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 102 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,991.41 ต่อแสนประชากร แต่ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคโควิด สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลทะนง พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 12,57,2,0,1 และ 0 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 155.48,738.82,26.18,0,19.51 และ 0 ต่อแสนประชากรตามลำดับ จากสถิติการระบาดพบว่าตำบลทะนงมีการระบาดทุก 3 ปี ซึ่งในปี 2566 เป็นปีที่คาดการณ์ว่าอาจจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น จึงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นในพื้นที่ การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อในพื้นที่และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน คณะกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลทะนงได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ ที่เป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลทะนง ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนเห็นความสำคัญของโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ ที่เป็นปัญหาในพื้นที่ เพื่อให้ ประชาชน อสม. และผู้นำชุมชน มีความรู้เรื่องการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อๆที่เป็นปัญหาในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,180.00 5 30,180.00
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 การประชุมคณะกรรมการ SRRT ระดับตำบล 0 2,200.00 2,200.00
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. ประชาชน ผู้นำชุมชนเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ 0 10,000.00 10,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 3 ออกสำรวจลูกน้ำและส่งผลการสำรวจ ทุกเดือน 0 1,980.00 1,980.00
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีประชาคมพร้อมให้ความรู้ในหมู่บ้านต้นแบบเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ การนำขยะมาแปรรูป และการทำถังหมักรักษ์โลก 0 16,000.00 16,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 6 รณรงค์/ให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย/การใช้สมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลายผ่านหอกระจายข่าว 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการ SRRT ในระดับตำบล มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานด้านการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 2 แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ประชาชนมีความรู้เรื่องการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ 3 กิจกรรมการสุ่มตรวจลูกน้ำ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักถึงการให้ความสำคัญในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออก 4 เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 00:00 น.