กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ 1 การประชุมคณะกรรมการ SRRT ระดับตำบล 1 ต.ค. 2565 1 ต.ค. 2565

 

เป็นการดำเนินการประชุมทั้งหมด 2  ครั้ง  โดยครั้งที่  1  เป็นการประชุมทบทวนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและปรับปรุงคณะกรรมการพร้อมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจกรรมในปีงบประมาณ 2566
ครั้งที่ 2  เป็นการประชุมติดตามเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมในปีงบประมาณ 2566 และทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรคระบาด  พร้อมทั้งดำเนินการถอดบทเรียนและเตรียมจัดทำแผนงานโครงการปีงบประมาณ 2567

 

คณะกรรมการ SRRT  ระดับตำบลมีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคได้อย่างต่อเนื่องและทันเหตุการณ์

 

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. ประชาชน ผู้นำชุมชนเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ 1 ต.ค. 2565 1 ต.ค. 2565

 

ดำเนินกิจกรรมอบรม  อสม. ผู้นำชุมชน  โดยสอนเกี่ยวกับวงจรชีวิตยุงลาย  การเกิดไข้เลือดออก  กาารระบาดที่เป็นปัญหาในพื้นที่  กระบวนการสุ่มตรวจลูกน่ำยุงลาย  มาตรการแนวมทางในการสร้างความร่วมมือในชุมชนเกี่ยวกับการปเองกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดอื่นๆที่เป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลทะนง  เช่น  โรคไข้หวัดใหญ่  โรคมือเท้าปาก สุกใส  และโรคโควิด 19

 

แกนนำ  อสม.ผู้นำชุมชน  มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ ที่เป็นปัญหาในพื้นที่

 

กิจกรรมที่ 3 ออกสำรวจลูกน้ำและส่งผลการสำรวจ ทุกเดือน 1 ต.ค. 2565 1 ต.ค. 2565

 

ดำเนินกิจกรรม  การออกสำรวจลูกน้ำยุงลายโดย อสม.  ตามเขตรับผิดชอบของตนเอง  และส่งรายงานให้ รพ.สต.ทะนงทุกเดือน  เพื่อเป็นการติดตามและเฝ้าระวังระดับของลูกน้ำยุงลายในเขตพื้นที่ตำบลทะนง  ซึ่งดำเนินกิจกรรมทุกเดือน

 

พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก  จำนวน 2 ราย (ไม่เกิน gen 2)

 

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีประชาคมพร้อมให้ความรู้ในหมู่บ้านต้นแบบเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ การนำขยะมาแปรรูป และการทำถังหมักรักษ์โลก 1 ต.ค. 2565 1 ต.ค. 2565

 

ดำเนินกิจกรรมการประชาคมชาวบ้านให้ทราบถึงปัญหาของสภาพสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านพร้อมช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา  อีกทั้งยังให้ความรู้ในเรื่องของการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ  มีการแปรรูปขยะหรือของเหลือใช้ให้นำกลับมาใช้ใหม่  และมีการลงสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายพร้อมทั้งให้ความรู้กับประชาชนในการควบคุมป้องกันโรค  ซึ่งดำเนินกิจกรรม  2  ครั้ง  ในแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมครั้งละ 80 คน

 

เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน  คือ  บ้านทะนง  หมู่ที่ 10 ตำบลทะนง

 

กิจกรรมที่ 6 รณรงค์/ให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย/การใช้สมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลายผ่านหอกระจายข่าว 1 ต.ค. 2565 1 ต.ค. 2565

 

จัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย  และการใช้สมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลาย  โดยขอความร่วมมือผู้นำหมู่บ้านประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย

 

ประชานมีความรู้เรื่องการกำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย  และการใช้สมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลาย