กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านชะแล้ร่วมใจ ชีวีสดใส ห่างไกลโรค
รหัสโครงการ 61-L5262-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1 ตำบลชะแล้
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ธันวาคม 2560 - 20 มกราคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กุมภาพันธ์ 2561
งบประมาณ 13,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจันทร์ สุวรรโณ นายสุนันต์ พาสะโร นางสมฤดี รูปต่ำ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.308,100.441place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ธ.ค. 2560 20 ม.ค. 2561 13,900.00
รวมงบประมาณ 13,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังจำนวนเพิ่มมากขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเนื่องมาจากแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคทางพฤติกรรม สถิติของประเทศไทยพ.ศ. 2556 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้องรังเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8,687.9 คนต่อปี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมถอยของร่างกายทุกระบบ ทำให้เป็นโรคมากขึ้นด้วยเช่นกัน จากการทำประชาคมพบว่า สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรังของคนในชุมชน ได้แก่ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่ การขาดการออกกำลังกาย รวมถึงการใช้ชีวิตเพียงลำพัง เนื่องจากลูกหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ซึ่งจากปัญหามีหลายสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ การแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จะเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนได้นั้น ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติตามแผน และติดตามประเมินผลในโครงการ ส่งผลให้ประชาชนเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ภาคภูมิใจที่ตนเอง และรู้สึกเป็นเจ้าของเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 ตำบลชะแล้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะแล้ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา และเทศบาลตำบลชะแล้จึงร่วมกันจัดทำโครงการ “ผู้สูงอายุ ป้องกันโรคภัย ห่วงใย และใส่ใจสุขภาพ”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองได้แก่ การตรวจคัดกรอง การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง การบริหารร่างกายแบบมณีเวชและการใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาการปวดเข่า ร้อยละ 70 ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ

ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองได้แก่ การตรวจคัดกรอง การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง การบริหารร่างกายแบบมณีเวชและการใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาการปวดเข่า ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการทันที

2 เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังร่วมถึงภาวะแทรกซ้อนได้ถูกต้องร้อยละ 70 ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ

ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความตระหนักถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังรวมถึงภาวะแทรกซ้อนได้ถูกต้อง ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการทันที

3 เพื่อให้ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง การบริหารร่างกายแบบมณีเวชและการใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาการปวดเข่าได้ถูกต้อง ร้อยละ 70 ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ

ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง การบริหารร่างกายแบบมณีเวชและการใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาการปวดเข่าได้ถูกต้อง ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการทันที

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียม 1.1 เขียนโครงการ 1.2 นำเสนอโครงการและแนวทางการดำเนินงานเพื่ออนุมัติงบประมาณ 1.3 จัดทำหนังสือเชิญเพื่อเข้าร่วมโครงการ
1.4 ประสานกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะแล้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และสมาชิกเทศบาลตำบลชะแล้เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ 1.5 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการจัดโครงการ 1.6 จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการจัดโครงการ

2.ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้วัยผู้สูงอายุและวัยทำงานเป็นกลุ่มย่อย 4 ฐานเรียนรู้ ดังนี้ ฐานที่ 1 คัดกรองความดันโลหิตสูง กิจกรรม : 1) คัดกรองโรคความดันโลหิตโดยวัดความดันโลหิต 2) ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ฐานที่ 2 กินอย่างไรห่างไกลโรค กิจกรรม : 1) ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองให้เหมาะสมกับโรค และการดูฉลากอาหารเรื่องปริมาณน้ำตาลและโซเดียมต่อวัน 2) สาธิตการทำยำปลาทูและส่วนผสมที่ใช้ 3) ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตอบคำถามเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจ ฐานที่ 3 สุขภาพดีด้วยมณีเวช กิจกรรม : 1) ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารร่างกายแบบมณีเวชเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง 2) สาธิตท่าบริหารร่างกายแบบมณีเวช 3) ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสาธิตย้อนกลับ ฐานที่ 4 สมุนไพรพื้นบ้านลดอาการปวดเข่า กิจกรรม : 1) ประเมินความปวดและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม 2) สาธิตท่าบริหารช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่า 3) สอนพอกเข่าด้วยสมุนไพร และให้สาธิตย้อนกลับท่าบริหารและการพอกเข่า 4) ประเมินความปวดหลังทำกิจกรรม 3.ขั้นประเมินผล
3.1)ขั้นประเมินผล 3.2)ประเมินผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 3.3)ประเมินผลหลังการให้ความรู้ตามฐานกิจกรรม 3.4)สรุปผลการประเมิน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองได้แก่ การตรวจคัดกรอง การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง การบริหารร่างกายแบบมณีเวชและการใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาการปวดเข่าได้ถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุได้มีความตระหนักถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังร่วมถึงภาวะแทรกซ้อนได้ถูกต้อง
  3. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง การบริหารร่างกายแบบมณีเวชและการใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาการปวดเข่าได้ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2560 14:03 น.