โครงการคัดกรองเร็ว ปรับเปลี่ยนตัวทัน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองเร็ว ปรับเปลี่ยนตัวทัน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง |
วันที่อนุมัติ | 11 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2567 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 98,880.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลราซัค กุลตามา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 17 มี.ค. 2568 | 17 มี.ค. 2568 | 98,880.00 | |||
รวมงบประมาณ | 98,880.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 250 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 24.47 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 17.35 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
และเหตุผล โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสีย ทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดโรคคือ กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมี อายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ จากผลการวิจัยหลายเรื่องชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผล โดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ สามารถควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ จากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปิยามุมัง ปีงบประมาณ ๒๕๖7 ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป พบข้อมูลดังนี้ โรคเบาหวาน มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องคัดกรองโรคเบาหวาน 1,257 ราย คัดกรองได้ทั้งหมด 1,161 ราย พบเป็นกลุ่มปกติ 910 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.38 กลุ่มเสี่ยง 236 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.33 และพบกลุ่มสงสัยป่วย 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.29 ส่วนโรคความดันโลหิตสูง มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องคัดกรอง 1,052 ราย ทำการคัดกรองได้ทั้งหมด 995 ราย พบเป็นกลุ่มปกติ 746 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.97 กลุ่มเสี่ยง 156 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.68 กลุ่มสงสัยป่วย 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.64 และพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.7 จากข้อมูลดังกล่าว ในการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จะพบกลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น แนวทางแก้ไข จะต้องดำเนินการให้เป็นระบบโดยตั้งแต่การคัดกรอง แล้วมาจัดกลุ่ม ดี เสี่ยง สงสัยป่วยและป่วย ในกลุ่มป่วย ต้องดำเนินการให้การรักษา จะต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม แต่ถ้าหากจะใช้เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอ จึงต้องบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเร็ว ปรับเปลี่ยนตัวทัน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ ๒๕๖8 ขึ้น เพื่อคัดกรองและคันหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน และเสริมสร้างความรู้กับประชาชนให้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสุขภาพจิตดี เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตที่จะเกิดขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพและการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
|
||
2 | เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
||
3 | เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 1119 | 98,880.00 | 0 | 0.00 | |
11 ต.ค. 67 - 29 ส.ค. 68 | กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อฟื้นฟูทักษะการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง | 39 | 3,900.00 | - | ||
11 ต.ค. 67 | . กิจกรรมตรวจคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง | 1,000 | 79,980.00 | - | ||
11 ต.ค. 67 | กิจกรรมอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง | 40 | 12,000.00 | - | ||
11 ต.ค. 67 | กิจกรรมติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 3 ครั้ง | 40 | 3,000.00 | - |
๑. อสม.มีความรู้และความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและการคัดกรองโรค ร้อยละ 100
2. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อย่างน้อย ร้อยละ 70
3.ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
4. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ได้รับการติดตามเยี่ยมและประเมินพฤติกรรม สุขภาพอย่างต่อเนื่องและส่งพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2567 09:17 น.