กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการจัดการความเครียด 10 มี.ค. 2566 10 มี.ค. 2566

 

ให้ความรู้ประกอบด้วย  ธงโภชนาการ  การอ่านฉลากโภชนาการ  การฝึกปฏิบัติทักษะเลือกบริโภคอาหารว่าควรเลือกบริโภคอาหารชนิดใด  การฝึกจัดการความเครียด

 

กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตได้ด้วยตนเอง

 

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 10 มี.ค. 2566 10 มี.ค. 2566

 

เป็นการร่วมกันหาแนวทางในการรับประทานอาหาร  การจัดการความเครียด  ให้ผู้เข้าร่วมโครงการตัดสินใจเลือกแนวทางการปรับเปลี่ยนและลงมือปฏิบัติ  โดยลงพื้นที่หากลุ่มเป้าหมายจำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1  เป็นการลงพื้นที่หากลุ่มเป้าหมายเบาหวาน จำนวน 30 คน  เพื่อตั้งเป้าหมายการรับประทานอาหารว่าต้องการจะปรับปรุงพฤติกรรมอย่างไร ครั้งที่ 2  เป็นการลงพื้นที่หลังจากการตั้งเป้าหมาย 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความรู้ในการรับประทานอาหาร แบบสอบถามความเครียดและตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด จากนั้นรวบรวมข้อมูล  ประมวลผล  เริ่มกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการจัดการความเครียด และกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ครั้งที่ 3  เป็นการลงพื้นที่หลังจากการให้ความรู้ 2  สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อติดตามผลของกลุ่มเป้าหมายโดยให้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความรู้ในการรับประทานอาหาร แบบสอบถามความเครียดและตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด ครั้งที่ 4  เป็นการลงพื้นที่หลังจากการติดตามผลครั้งแรก 2  สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อติดตามผลของกลุ่มเป้าหมายโดยให้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความรู้ในการรับประทานอาหาร แบบสอบถามความเครียดและตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด

 

จากการลงพื้นที่ทำแบบสอบถามก่อนเข้าร่วมโครงการแและหลังเข้าร่วมโครงการพบว่าประชาชนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ดีเพิ่มขึ้น  จำนวน 18 คน  คิดเป็นร้อยละ 60