กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคติอต่อในชุมชนตำบลทำนบ
รหัสโครงการ 67-L5264-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบทำนบ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 52,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกอบ เกษาทรประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทำนบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246,100.506place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2566 30 ก.ย. 2567 52,880.00
รวมงบประมาณ 52,880.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน
60.00
2 ร้อยละของการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจาย ลดอัตราป่วยของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน
70.00
3 ร้อยละของการลดปริมาณขยะ หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อหรือเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่สามรถกระจายไปสู่คนอื่นได้แต่ก็สามารถป้องกันได้ องค์ประกอบของการเกิดโรคประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหะนำโรค สิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันโรคติดต่อจะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคลต้องมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือจำนวนน้อย พาหะนำโรคต้องไม่มีหรือมีน้อย และที่สำคัญ คือ สิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะไม่เอื้ต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ จึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เป็นสิ่งที่ประชาชนในหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อและไม่สามมารถแพร่กระจ่ายเชื้อโรคได้ ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผล จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันในเขตพื้นที่ทำนบ เป็นชุมชนที่ประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพราะมีการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกต้อง มีปัญหาของการระบายน้ำทำให้ขยะไปอุดตันทางระบายน้ำ เกิดน้ำขังกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาบ แมลงวัน หรือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู ซึ่งเป็นสัตว์นำโรคต่างๆ ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้ชิกุลคุนยาหรือโรคปวดข้อยุงลาย อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค กาฬโรค เป็นต้น แหล่งเพาะ เมื่อเกิดโรคหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ พื้นที่ตำบลทำนบ เป็นพื้นที่ที่มีประชากรอยู่หนาแน่นและมีพื้นที่ทางการเกษตรจำนวนมากและมีพื้นที่ลุ่มต่ำและมีน้ำขังจำนวนมาก การเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดต่อและการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยความตระหนักดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทำนบ จึงได้จัดโครงการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปี 2567 ขึ้นโดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลทำนบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน

ประชาชนมีความรู้และตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันกรเกิดโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน

60.00 70.00
2 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจาย ลดอัตราป่วยของโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน

อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชนลดลง

70.00 80.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะ หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อหรือเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค

เกิดบ้านตัวอย่างในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้าน

70.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,880.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำแผนงานโครงการเสนอของบประมาณ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามแผนงานโครงการ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดทำไวนิลโครงการและไวนิลประชาสัมพันธ์ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 รณรงค์ให้ความรู้ชุมชนและร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 0 52,880.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 0 0.00 -

*****ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ*****

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญในชุมชนลดลง
  2. เกิดบ้านตัวอย่างในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้าน
  3. ประชาชนมีความรู้และตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดดรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2567 11:06 น.