กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง


“ โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก 0 - 5 ปี ปีงบประมาณ 2566 ”

ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณี มั่นเขตกิจ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก 0 - 5 ปี ปีงบประมาณ 2566

ที่อยู่ ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จังหวัด พิจิตร

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก 0 - 5 ปี ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดพิจิตร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก 0 - 5 ปี ปีงบประมาณ 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก 0 - 5 ปี ปีงบประมาณ 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 8,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

1,000 วันแรกของชีวิต เริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงเด็กอายุ 2 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งกระบวนการพัฒนาการทางร่างกายและทางสมองส่งผลต่อทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ภาวะเตี้ย ทุพโภชนาการพัฒนาการไม่สมวัย เนื่องจากเป็นช่วงที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง โดยการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ร่วมกับกระบวนการ กิน นอน กอด เล่น เล่า คุณภาพจะทำให้ทารกที่เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงสุด ข้อมูลด้านแม่และเด็กตำบลทะนง จากระบบรายงาน HDC และ MIS ในปี พ.ศ.2565 พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานนอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ 1.การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ93.752.การฝากครรภ์คุณภาพ5ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ93.333.หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ร้อยเปอร์เซ็นต์ 4.หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ93.33 5.เด็กปฐมวัย(9, 18, 30, 42, 60 เดือน)มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ89.22 6.อัตราให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากและขัดทำความสะอาดฟันในหญิงมีครรภ์โดยทันตบุคลากร เป้าหมายจังหวัดร้อยละ 75 ผลงานร้อยละ52.17 ซึ่งไม่ผ่านตามตัวชี้วัด 7.เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ7 ผลงานที่ได้คือ ร้อยละ12 ซึ่งไม่ผ่านตามตัวชี้วัด จากสถานการณ์ดังกล่าว พบว่ายังมีเรื่องสำคัญเช่นเด็กแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข เพราะการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก เป็นงานที่สำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ โดยจะต้องมีกระบวนการดูแลพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ และการดูแลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และจำเป็นต้องมีกระบวนการบูรณาการ 4 กระทรวงหลัก เพื่อเป้าหมายเด็กไทยแข็งแรง เก่งดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามแนวทางการพัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เน้นฐานการแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัว
ดังนั้นทางชมรมนมแม่ตำบลทะนง จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพกลุ่มมารดาและเด็ก 0 – 5 ปี ตามกระบวนการทางด้านสุขภาพ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำหมู่บ้าน ประชาชน อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก0-5ปี ปีงบประมาณ 2566ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมนมแม่ทุก 6 เดือน (2ครั้ง/ปี)
  2. กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดถึงวิธีการดูแลตนเอง และบุตรที่คลอด อย่างถูกวิธีโดยบูรณาการกับการแพทย์แผนไทย และผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เรื่องพัฒนาการที่สมวัย การกระตุ้นพัฒนาการ กิจกรรมหนังสือเล่มแรก การดูแลสุขภาพช่องปาก และวัคซีนตาม
  3. กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเรื่องประโยชน์ของการฝากครรภ์ภายใน 3 เดือนแรกและประโยชน์ของนมแม่ พร้อมด้วยประกาศเชิดชูเกียรติคุณแม่ที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
  4. กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสอนและสาธิตการเก็บน้ำนมแก่หญิงให้นมบุตรและการดูแลสุขภาพช่องปาก ในพื้นที่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด ผู้ปกครอง สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุตรหลานได้
  2. เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ได้รับการดูแลตั้งแต่ในครรภ์มารดาและได้รับการส่งเสริมสุขภาพอย่างรอบด้านทั้งด้านพัฒนาการโภชนาการและวัคซีนตามเกณฑ์

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมนมแม่ทุก 6 เดือน (2ครั้ง/ปี)

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการประชุมเพื่อคืนข้อมูลหญิงตั้งครรภ์  หญิงหลังคลอด  และเด็ก 0 - 5 ปี ในพื้นที่ตำบลทะนง  ว่ามีปัญหาในการดำเนินการปีที่ผ่านมาอย่างไร  เรื่องไหนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด  เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน  และนำไปขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระยะเวลาที่กำหนด  และผ่านตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ทราบปัญหาในปีที่ผ่านมา  และมีแนวทางการดำเนินโครงการ ปีงบ 2566  เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป

 

0 0

2. กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดถึงวิธีการดูแลตนเอง และบุตรที่คลอด อย่างถูกวิธีโดยบูรณาการกับการแพทย์แผนไทย และผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เรื่องพัฒนาการที่สมวัย การกระตุ้นพัฒนาการ กิจกรรมหนังสือเล่มแรก การดูแลสุขภาพช่องปาก และวัคซีนตาม

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการอบรมใหความรู้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์  หญิงหลังคลอด  หญิงให้นมบุตร  ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปีในพื้นที่  คณะกรรมการชมรมนมแม่ตำบลทะนง  แกนนำ อสม.  ในเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมหนังสือเล่มแรก  การส่งเสริมภาวะโภชนาการ  พัฒนาการ  การนวดกระตุ้นพัฒนาการ  โดยบูรณาการกับงานทัตกรรมและงานแพทย์แผนไทย  เป็นการอบรมให้ความรู้โดยนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ  นักวิชาการทันตกรรมสาธารณสุขและแพทย์แผนไทย  เป็นผู้ให้ความรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมหนังสือเล่มแรก  มีความเข้าใจเรื่องการเสริมภาวะโภชนาการ  มีความรู้เรื่องการนวดกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

 

0 0

3. กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเรื่องประโยชน์ของการฝากครรภ์ภายใน 3 เดือนแรกและประโยชน์ของนมแม่ พร้อมด้วยประกาศเชิดชูเกียรติคุณแม่ที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการแจ้งข่าวสารในเวทีประชุมประจำเดือน อสม.  และประชุมประจำเดือนของหมุ่บ้าน  เกี่ยวกับมารดาที่สามรถเป็นแบบอย่่งในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน  และมีการฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชน  และอสม.  ได้ทราบถึงประโยชน์ในการฝากครรภ์ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด  และสามารถคัดเลือกแม่หลังคลอดในพื้นที่ของตนเองเข้ารับประกาศนียบัตร  เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและเป็นความภาคภูมิใจแก่ผู้ได้รับ

 

0 0

4. กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสอนและสาธิตการเก็บน้ำนมแก่หญิงให้นมบุตรและการดูแลสุขภาพช่องปาก ในพื้นที่

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป็นการสาธิตการบีบน้ำนม  การเก็บน้ำนม  โดยใช้ถุงเก็บน้ำนมแก่หญิงหลังคลอด  และสาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับหญิงหลังคลอดโดยออกไปสาธิตที่บ้านขณะไปเยี่ยมบ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หญิงหลังคลอดสามารถบีบน้ำนมเป็น เข้าใจวิธีเก็บน้ำนมที่ถูกต้อง และมีความชำนาญในดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อย

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมนมแม่ทุก 6 เดือน (2ครั้ง/ปี) (2) กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดถึงวิธีการดูแลตนเอง และบุตรที่คลอด อย่างถูกวิธีโดยบูรณาการกับการแพทย์แผนไทย และผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เรื่องพัฒนาการที่สมวัย การกระตุ้นพัฒนาการ กิจกรรมหนังสือเล่มแรก การดูแลสุขภาพช่องปาก และวัคซีนตาม (3) กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเรื่องประโยชน์ของการฝากครรภ์ภายใน 3 เดือนแรกและประโยชน์ของนมแม่ พร้อมด้วยประกาศเชิดชูเกียรติคุณแม่ที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน (4) กิจกรรมที่ 4  ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสอนและสาธิตการเก็บน้ำนมแก่หญิงให้นมบุตรและการดูแลสุขภาพช่องปาก ในพื้นที่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก 0 - 5 ปี ปีงบประมาณ 2566 จังหวัด พิจิตร

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณี มั่นเขตกิจ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด