กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม 3 อ 2 ส ลดพุง ลดโรค ตำบลทำนบ
รหัสโครงการ 67-L5264-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสาธารณสุขตำบลบ้านพร้าว ตำบลทำนบ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 32,790.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอรวรรณ คงแก้ว นักวิชาการสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246,100.506place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2566 30 ก.ย. 2567 32,790.00
รวมงบประมาณ 32,790.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
70.00
2 ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่องโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดันสูง
70.00
3 ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ 2ส.
70.00
4 ร้อยละของการลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้ชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบันมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ทำให้เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง รวมทั้งการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะอ้วน ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึงอาจจะทำให้เส้นเลือดตีบหรือแตกได้ นอกจากนี้การสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็จะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง รวมทั้งโรคมะเร็งต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน เมื่อประกอบกับความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอรวมกัน และสะสมเรื้อรังไปนานๆ ก็นำไปสู่การเกิดกลุ่มโรค NCDs ขึ้นได้ หรือแม้แต่โรคอ้วนลงพุง ล้วนเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม การไม่สามารถจัดการอารมณ์ของตนเองต่อการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าว หากได้มีการคัดกรอง การตรวจสุขภาพอย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมถูกต้องตามหลัก 3 อ 2 ส คือ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ที่ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการลด ละ เลิกสูบบหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวได้ จากการสำรวจระหว่างปี พ.ศ.2557 - 2563 อายุเฉลี่ยเริ่มสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงจาก 18.5 ปี เป็น 15.6 ปี ขณะที่อายุเริ่มดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย โดยสูงขึ้นจากอายุ 20.2 ปี เป็น 20.8 ปี และคนไทยมีปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ต่อนักดื่มสูง 23.8 ลิตร สำหรับพฤติกรรมการบริโภคที่ยังเป็นปัญหาสำหรับคนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไป มีเพียว 1 ใน 4 ที่บริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอ คือ วันละ 400 กรัม ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ส่วนกิจกรรมเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย โดยเฉลี่ยใช้เวลากับกิจกรรมเคลื่อนไหวน้อย เช่น การนั่ง ๆ นอน ๆ ถึงวันละ 13 ชั่วโมงครึ่ง ในขณะที่มีกิจกรรมทางกายรวมทุกประเภทเพียง 2 ชั่วโมงต่อวัน กลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายน้อย คือ กลุ่มผู้หญิงที่ที่มีเพียงร้อยละ 62.4 นอกจากนี้การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของทุกกลุ่มอายุยังอยู่ในระดับต่ำ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวโดยใช้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้ดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลรักษาตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้หลัก 3 อ 2 ส เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีแนวคิดให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้ว และตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดให้แก่ประชาชนที่รับผิดชอบตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การควบคุมดูแล และการควบคุมคุณภาพของเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีผลใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นไป ในพื้นที่ตำบลทำนบ มีประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,879 คน โดยเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 614 คน และกลุ่มเสี่ยง จำนวน 1,394 คน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทำนบ จึงได้จัดโครงการปรับพฤติกรรม 3 อ 2 ส ลดพุง ลดโรค ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปี 2567 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

70.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่องโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดันสูง

ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกัน

70.00 80.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย 3 อ 2 ส.

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม

70.00 80.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติอต่อเรื้อรังในชุมชน

อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

70.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,790.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านพร้าว ต.ทำนบ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จริงในพื้นที่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดทำโครงการเสนอ และขอเสนอสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลทำนบ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนจัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดกิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป พร้อมแจ้งผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบ 0 32,790.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 สรุปจัดทะเบียนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเข้าสู่ระบบส่งต่อของ รพ. สิงหนคร 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มที่เสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -

****ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ****

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกัน
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
  4. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2567 13:59 น.