กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพกายใจ ใส่ใจผู้สูงอายุ (ต่อเนือง) ปีงบประมาณพ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L8369-03-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สกร.อำเภอสุไหงปาดี
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 7,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโนร์มีร์รา ดะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปรากฏการณ์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของประเทศไทย คือการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลพบว่า ขนาดหรือจำนวนของประชากรรวม และประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจากในปี พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบันและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต โดยประชากรผู้สูงอายุ หรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป เพิ่มจาก 1.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2503 เป็น 7.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 และคาดว่าจะเพิ่มถึง 17.7 ล้านคน ในปี พ.ศ.2573 เมื่อมองถึงสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน โดยในปี พ.ศ. 2550 ประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรไทยจะเป็นผู้สูงอายุ และภายในปี พ.ศ. 2573 คาดประมาณกันว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 1 ใน 4 ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพิ่มจากร้อยละ 3.6 ในปี พ.ศ. 2537 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งทางร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งสูงยิ่งเกิดความเสื่อมถอยของร่างกาย พบว่าผู้สูงอายุเกินครึ่ง (ร้อยละ 57.7) มีปัญหาด้านการมองเห็นการได้ยิน การหกล้ม จากปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุดังกล่าว ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อยึดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังออกไป และในผู้ที่สูงอายุที่เจ็บป่วยให้หายหรือทุเลาจาการลดการเกิดความพิการ หรือทุพพลภาพ และยึดเวลาของการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป การเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ
สกร.อำเภอสุไหงปาดี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสุไหงปาดี และเทศบาลตำบลปะลุรู ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมงของกรมอนามัย สำหรับผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยต้องมีหนังสือรับรองจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยเฉพาะกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (อสม.) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ หรือ ประชาชนทั่วไปที่สนใจเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนโยบายสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดโครงการความร่วมมือการผลิตการดูแลผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2567ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ และปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง

ตัวชี้วัดผลผลิต (Output)
-กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 ผ่านการอบรมตามวัตถุประสงค์

5.00 5.00
2 เพื่อเตรียมบุคลากรรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในท้องถิ่น ชุมชน

ตัวชี้วัดผลลัพธ์(Outcome)
- ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ  และปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง

5.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 อบรมและฝึกปฏิบัติ 0 7,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ตัวชี้วัดผลผลิต (Output)

- กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 ผ่านการอบรมตามวัตถุประสงค์ 2. ตัวชี้วัดผลลัพธ์(Outcome) - ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 00:00 น.