กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L4131-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอมล๊ะห์ แวเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวบุสริน ดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทย และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมาก ที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้และไส้ตรง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ตามลำดับในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหาโดยการตรวจหา เซลล์มะเร็งตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและ จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ในส่วนของโรคมะเร็งลำไส้ และไส้ตรงเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับสามในเพศชาย และเป็นอันดับสี่ในเพศ หญิง ในปี พ.ศ. 2554 พบผู้ป่วยใหม่ปีละประมาณ 10,624 ราย โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็ง ลำไส้ ใหญ่และไส้ตรงประมาณ 3,000 ราย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นโรคมะเร็งที่สามารถ ทำการตรวจหาได้ ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก ซึ่งสามารถทำการรักษาให้หายได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษามะเร็งในระยะ ลูกลาม นอกจากนี้ยังสามารถตรวจพบในระยะที่ยังไม่เป็นมะเร็งคือ Adenomas ซึ่งเมื่อทำการรักษาโดยการ ตัดทิ้งแล้วสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติจึงเสนอโครงการตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงให้กับประชาชนที่มีอายุ 50-70 ปีขึ้นไป โดยการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระ ด้วยวิธี Fecal Immunochemical Tast (FIT) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเนื่องจากขั้นตอนในการเตรียม ตัวไม่ยุ่งยากซับซอน และสามารถทำการตรวจคัดกรองได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เนื่องจาากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ซึ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะได้รับการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรแต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าหากได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีและบุรุษจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็ง จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ในพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง ปีงบประมาณ 2567 สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวนทั้งหมด 1,120 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการ pap smear จำนวน 303 คน คิดเป็นร้อยละ 27.05 และสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 1,456 คน ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่่ และด้วยตนเอง จำนวน 1,142 คน คิดเป็นร้อยละ 78.43 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร้งลำไส้และไส้ตรง โดยวิธี Fit test จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09 โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลอัยเยอร์วงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน แลการลดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงได้จัดทำโครงการ คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้นเปฌนการสนองตามนโยบายหลักประกันสุขภาพส่งเสริมสุขภาพอนามัยในกลุ่มสตรี ให้สามารถดูแลลสุขภาพตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี

ร้อยละสตรีกลุ่มเป้าหมาย 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

20.00
2 เพื่อให้ความรู้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุามเป้าหมาย 30-70 ปี และฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละสตรีกลุามเป้าหมาย 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมม ด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

100.00
3 เพื่อให้สตรีกลุามเป้าหมาย 30-70 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง

สตรีกลุามเป้าหมาย 30-70 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างถูกต้องทุกราย

100.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย 50-70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งลำไส้ ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย 50-70ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างถูกต้องทุกราย

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 15,200.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็ง 70 15,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่า 20
2 สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและลสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง รอ้ยละ 100 3 สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-7- ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 11:00 น.