กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยโรคไตรายใหม่ และชะลอไตเสื่อม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยโรคไตรายใหม่ และชะลอไตเสื่อม
รหัสโครงการ 67-L4131-06-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอาซีกิน มุซิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวบุสริน ดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนี้ แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมากมาย ทำให้ประชากรโลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยเหล่านั้นแหละมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเรียกรวมกันว่า เมตะบอลิกซินโดรน (Metabolic Syndrome) กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวมเร็ว ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัยการกินอยู่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มีไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันที่สะสมอยู่ที่พุงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง และสุดท้ายนำไปสู่ภาวะไตเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease, ESRD) ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 จึงได้มีการตรวจสอบคัดกรองสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านอัยเยอร์เวง อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,364 ราย เพื่อติดตามค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยที่เป็นโรค เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราการเกิดโรคใหม่และชะลอไตเสื่อม ซึ่งเดิมผู้ป่วยที่รับการรักษาโรคความดัน และโรคเบาหวาน แล้ว 448 ราย และ 168 ราย ตามลำดับ ได้เข้ารับการรักษาโรคความดันและเบาหวานอย่างต่อเนื่อง 215 ราย และราย 110 ราย ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มผู็ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคไต จากสถิติผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่พบป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโอากาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือด และโรคไตในอนาคต ในการลดการเกิดของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดต้องทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนใในสังคมทั้งหมดด้วยรณรงค์เรื่องวิถีชีวิต ทำให้เกิดความตระหนักในอันตรายของอาหารที่ทำให้เกิดความอ้วนอันตรายของชีวิตที่กินๆนอนๆไม่ขยันเขยื้อน ไม่ออกกำลังกาย การปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลให้โรคแทรกซ้อนเกิดเร็วขึ้น จากสถานการณ์กลุ่มอายุ 35 ปี ที่ได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2566 พบกลุ่มเสี่ยงป่วย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 53 ราย และเบาหวาน จำนวน 294 ราย ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตำบลอัยเยอร์เวงจัดทำโครงการเพื่อให้ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งกลุ่มป่วยและเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องพฤติกรรมของการเกิดโรคและสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรค NCD ทุกคน

ร้อยละของประชากรกลุ่ม 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง

90.00
2 กลุ่มเสี่ยงน้อย กลุ่มเสี่ยงมาก กลุ่มเสี่ยงป่วย ได้รับการติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการป่วย

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยง

100.00
3 กลุ่มเสี่ยงป่วยมีการลดระดับความเสี่ยง ลดลง

อัตราผู้ป่วยรายใหม่ NCD ลดงจากปีที่ผ่านมา

4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการรับรู้ความสามารถ การกำกับพฤติกรรม และการดูแลสุขขภาพของตนเองในการปรับพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงโรค NCD

กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมตัวเองไม่ให้ป่วยด้วยโรค NCD มีความรู้ในการดูแลตนเอง 3อ 5ส ได้อย่างเข้าใจติดตามความดันโลหิต ค่าเบาหวาน มีค่าลดลงตามลำดับ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 19,850.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ 100 19,850.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90 2กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงป่วย ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเกิดโรค NCD 3อัตราป่วยรายใหม่มีค่าลดลง 4กลุ่มอายุ 34 ปีขึ้นไป มีการตระหนักในการดูแลตนเองไม่ให้เเกิดโรค NCD ทุกคน 5กลุ่มป่วย ลดอัตราการเกิด Stroke

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 11:24 น.