กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่าย การป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางกล่ำ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยุฑามาส วันดาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและทวีจำนวนมากขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการแล้วส่วนใหญ่คือโรคจิตเวชจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และส่งผลให้เกิดการฆ่าตัวตายสำเร็จอีกด้วย จากตัวชี้วัดระดับจังหวัด (จากฐานข้อมูล 43 แฟ้ม) ปีงบประมาณ 2566 พบว่าอำเภอบางกล่ำ มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 1 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายอำเภอในจังหวัดสงขลา โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ จำนวน 6 ราย ซึ่งผู้เสียชีวิตมีประวัติใช้สารเสพติดและสุรา จำนวน 4 ราย ป่วยโรคทางกายเรื้อรัง จำนวน 2 ราย คิดเป็น 18.4 ต่อแสนประชากร โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ไม่เกิน 6.5 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการแล้วส่วนใหญ่คือโรคจิตเวชจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และส่งผลให้เกิดการฆ่าตัวตายสำเร็จ ส่วนโรคอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า เครียด โรคทางกายเรื้อรัง อาจเป็นเหตุปัจจัยในการฆ่าตัวตายได้เช่นกัน ดังนั้นการฝึกให้ทุกคนในชุมชนเป็นบุคลากรด้านสุขภาพจิต เริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัวให้สามารถสังเกตอาการโรคพื้นฐาน เช่น โรคซึมเศร้า สัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย มีทักษะการรับฟัง การให้กำลังใจเชิงบวก การส่งเสริมและป้องกันเป็นหน้าที่ทุกคน ดังนั้นการสร้างความร่วมมือในระดับชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วน
โรงพยาบาลบางกล่ำ จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่ายการป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ มีความเข้าใจต่อสัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย 10 ประการ และเห็นความสำคัญของ “การฟังด้วยหัวใจ” ใช้หัวใจฟังให้ได้ยินในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่ เพื่อช่วยฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ทันท่วงทีและสามารถสร้างรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตามบริบทของพื้นที่ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ โดยชุมชนมีส่วนร่วม

 

2 เพื่อให้ประชาชน อสม. และเครือข่าย มีความรู้ความเข้าใจรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตายกับคนใกล้ตัวและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

 

3 เพื่อสร้างรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุม ปรึกษา วางแผน จัดทำขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่
    1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
          3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดวันเวลา สถานที่จัดกิจกรรมให้ความรู้
    2. กำหนดหลักสูตรให้ความรู้
  2. ติดต่อประสานวิทยากร
  3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้
  4. ร่วมกันกำหนดมาตรการ แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่
  5. สรุปแบบประเมินผลกิจกรรม โดยจัดเวทีถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  6. รายงานผลการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้าและรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตาย สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม สามารถใช้แบบคัดกรองค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
  3. มีรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  4. อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่ เท่ากับ 0
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 11:27 น.