กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในทุกกลุ่มวัย หมู่ที่ 1 – 4 และหมู่ที่ 8ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2476-1-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 46,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 539 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญสำหรับการติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคม ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป ในขณะที่ระบบบริการสุขภาพและระบบการพัฒนาคนยังไม่สามารปรับตัวรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้การเกิดโรคฟันผุ ในทุกกลุ่มวัย กรมอนามัยจากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่อปากแห่งชาติครั้งที8พศ.2560เปรียบเทียบกับการสำรวจใน7 ครั้งที่ผ่านมา นับตั้งแต่การสำรวจสภาวะช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 1 พศ.2503 พบว่าสภาวะสุขภาพช่องปากของประชากรไทยมีแนวโน้มในภาพรวมดีขึ้น โดยความชุกของโรคฟันผุในกลุ่มเด็กลดลง โดยร้อยละของเด็กอายุ 5 ขวบ และ12 ปีที่มีฟันผุลดลงจากร้อยละ85.3และ52.9ในปีพ.ศ2537 เป็นร้อยละ75.6 และ520 ในปีพ.ศ2560เปิดเผยผลการสำรวจสุขภาพช่องปาก ในปี 2560 พบว่า สภาวะช่องปากของประชากรไทยมีแนวโน้มในภาพรวมดีขึ้น โดยความชุกชุกของโรคฟันผุในกลุ่มเด็กลดลงเด็กไทยโดยเฉลี่ยร้อยละ 50เป็นโรคฟันผุสูงสุดในเขตภาคใต้ร้อยละ 65 โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ในปี 2560 กระทรวงสาธารณสุขได้รายงาน พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ เด็กและผู้สูงอายุเผชิญปัญหาโรคฟันสูงเป็นอันดับของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส พบเด็กฟันผุถึงร้อยละ 80 ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยพบ 1 ใน 10ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร และพบว่ากว่าครึ่งยังไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากอุปสรรคในการเดินทางและผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้เกิดปัญหาเป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรงสูงถึงร้อยละ๙๑และมีโอกาสสูญเสียฟันทั้งปากเพิ่มขึ้น การสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส ในปี 2565 พบว่าเด็กอายุ0-5 ปี ฟันผุสูงถึงร้อยละ 62 .35เด็กอายุ6-12 ปี พบว่ามีปัญหาฟันถาวรผุร้อยละ 78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กองทันสาธารณสุขกำหนด คือมีฟันถาวรผุไม่เกินร้อยละ 20 กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่พบปัญหาการสูญเสียฟันชัดเจน ในกลุ่มอายุ 13-59 ปีมีฟันถาวรผุร้อยละ ๗๕ การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 10 ซี่/คน อาจกล่าวได้ว่าผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาการ บดเคี้ยวอาหาร การไม่มีฟันทั้งปาก เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอีกด้วย ซึ่งพบถึงร้อยละ 10.5 และจากข้อมูล ปี 2560 อัตราผู้ป่วย 10 อันดับแรก ของประชาชนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ประชาชนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ พบว่าอัตราการป่วยจากโรคฟันผุเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับ 3 ร้อยละ51.78 อัตราต่อแสน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความรู้เรื่องการดูแลทันตสุขภาพ สามารถดูแลตนเองและถ่ายทอดความรู้สู่การปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี

ร้อยละ 80 ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความรู้เรื่องการดูแลทันตสุขภาพ สามารถดูแลตนเองและถ่ายทอดความรู้สู่การปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย สามารถเข้าถึงบริการและได้รับบริการทันตกรรมบำบัดตามความจำเป็น ลดปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบ

ร้อยละ 80 ประชาชนทุกกลุ่มวัย สามารถเข้าถึงบริการและได้รับบริการทันตกรรมบำบัดตามความจำเป็น ลดปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบ

0.00
3 เพื่อให้แกนนำอสม.และแม่อาสามีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและสามารถนำความรู้ถ่ายทอดแนะนำผู้อื่นได้ถูกวิธี

ร้อยละ 80 แกนนำอสม.และแม่อาสามีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและสามารถนำความรู้ถ่ายทอดแนะนำผู้อื่นได้ถูกวิธี

0.00
4 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากสามารถดูแลสุขภาพตนเองและเป็นแกนนำด้านสุขภาพช่องปากในโรงเรียน

ร้อยละ 80 แกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากสามารถดูแลสุขภาพตนเองและเป็นแกนนำด้านสุขภาพช่องปากในโรงเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ 0 4,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0 – 5 ปี แกนนำนักเรียน 0 12,400.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 3 ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้นำศาสนา 0 28,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 4 ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันให้กับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน 0 2,020.00 -
รวม 0 46,420.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น ฟันผุและเหงือกอักเสบลดลง
2.กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ฟันผุลดลงและผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้เด็ก ได้อย่างถูกต้อง 3. แกนนำ อสม.และแม่อาสาได้รับความรู้สามารถดูแลทันตสุขภาพตนเองและกระจายความรู้แก่เพื่อนบ้าน ได้ 4.กลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนนำร่อง สุขภาพช่องปากสะอาดปราศจากฟันแท้ผุ มีฟันแท้ ผุ และเหงือกอักเสบลดลง 5. กลุ่มผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธีและดูแลฟันปลอมได้ถูกต้อง
6.กลุ่มคนพิการ ทุพพลภาพ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและ ผู้ดูแลมีความรู้ความสามารถในการ ดูแลได้ อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 00:00 น.