กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี หมู่ที่ 1 – 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รหัสโครงการ 67-L2476-1-012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 25,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา(จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้นโดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยพบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว่ามีเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 41 คน ร้อยละ 7.85 ซึ่งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับภาคที่กำหนดไว้ว่าภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5ปี ไม่เกินร้อยละ 7 อีกทั้งเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการยังส่งผลต่อเด็กทำให้เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าอีกด้วย จากการคัดกรองพัฒนาการเด็กในปี 2566 เด็กที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการจำนวน 372 คน พบเด็กที่สงสัยล่าช้าและต้องกระตุ้นติดตามจำนวน 104 คน ร้อยละ 27.96ซึ่งตามมาตรฐานเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด เด็กที่สงสัยล่าช้าหลังจากที่ดรับการคัดกรองแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 20 ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กเพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตตามวัยและมีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต
การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กปี 2567 ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0 – 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

เด็กอายุ 0–5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 95

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการและพัฒนาการของในเด็ก 0-5 ปี

ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับความรู้จากการเข้าร่วมอบรมมากกว่าร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,005.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 แก้ไขภาวะทุพโภชนาการ 0 25,005.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการส่งเสริมให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 5 ด้าน
  2. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและตรวจคัดกรองพัฒนาการ
  3. เด็กอายุ 0-5ปี ที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติได้รับการติดตามทุก 1 เดือน และเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นซ้ำภายใน 1 เดือน ให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย
  4. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการของบุตรได้อย่างถูกต้อง
  5. ผู้ปกครองเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ ๐-๕ ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 00:00 น.