กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองเชิงรุกค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ สู่หมู่บ้านปลอดวัณโรค ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 67-L1520-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มีนาคม 2567 - 20 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,705.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกได้จัดกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง (High Burden Country Lists) เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่1) กลุ่มที่มีจำวนและอัตราป่วยวัณโรคสูง (TB ) 2) กลุ่มที่มีจำนวนและ อัตราวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวีสูง (TB/HIV) และ 3) กลุ่มที่มีจำนวนและอัตราป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง (MDR-TB) ซึ่งประเทศไทย เป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหา    วัณโรคสูงทั้ง 3 กลุ่ม (กรมควบคุมโรค, 2561) จากผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ.2560 พบปัญหา ในการวินิจฉัยและตรวจพบผู้ป่วย เพียงร้อยละ 55.30 ของจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่คาดประมาณอีกทั้งยังต้องเพิ่มความสำเร็จของการรักษาให้สูงขึ้น และพบว่ามีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษา 2 วัณโรค 75,317 ราย โดยมีอัตราความสสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 83.40 จำเป็นต้อง เร่งรัดความสำเร็จการรักษา ให้ได้ตามเป้าหมายประเทศไทย คือร้อยละ 90.00 ปัจจัยที่ทำให้อัตรา ความสำเร็จของการรักษายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตระหว่าง การรักษา และอัตราการขาดยาสูง คิดเป็นร้อยละ 8.20 และ 4.50 ตามลำดับ อัตราความ ครอบคลุมในการรักษา ร้อยละ 74.00อัตราการดื้อยา ร้อยละ 1.10 แม้ว่าประเทศไทยมีอัตรา ความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ มากกว่าร้อยละ 85.00 สามารถลดอัตราอุบัติการณ์ ของผู้ป่วยวัณโรคจาก 172 ต่อประชากรแสนคน ในปีพ.ศ. 2559 ลดลงเหลือ 156 ต่อแสน ประชากร ในปีพ.ศ.2560 แต่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ (กรมควบคุม โรค, 2561) ทำให้ประเทศไทยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาวัณโรค สูงถึงปีละ 75,238 ล้านบาท (เฉวตสรร นามวาท และคณะ, 2560) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศใหวัณโรคดื้อยาหลายขนานเป็นโรคติดต่ออันตรายอันดับที่ 13 ที่ต้องเฝ้าระวัง ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ จัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อที่เป็นสาเหตุของการป่วยและการตายในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกและองค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค มีทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคและเอดส์ รวมถึงวัณโรคดื้อยาหลายขนาน จากการคาดประมาณการขององค์การอนามัยโลก ปี 25๖๕ ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ 119,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ติดเชื้อเอชไอวี 10,000 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา Rifampicin Resistant Tuberculosis (RR-TB)/ Multi-drug Resistant Tuberculosis (MDR-TB) 4,700 รายโดยทวีปเอเชียมีผู้ป่วยวัณโรคปอดมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คิดเป็นร้อยละ 55 ของผู้ป่วยวัณโรคปอดทั้งหมด ซึ่ง 3 ประเทศแรกที่มีผู้ป่วยวัณโรคปอดมากที่สุดในทวีปเอเชียได้แก่ ประเทศอินเดีย จีน และอินโดนีเซีย สําหรับประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 18 จากกลุ่ม 22 ประเทศที่มีอุบัติการณ์ การระบาดของวัณโรคปอดอย่างรุนแรงและยังมีปัญหาอยู่สถานการณ์ วัณโรคปอดของประเทศไทยปี 2559 พบว่ามีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคปอด (รายใหม่และกลับเป็นซ้ำ 70,114 ราย ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ติดเชื้อเอชไอวี 6,794 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้ที่ได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวี วัณโรคปอดดื้อยาหลายขนาน 955 ราย และผู้ป่วยวัณโรคปอดดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง 13 ราย โดยมีผลสําเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และกลับเป็นซ้ำร้อยละ 82.9 จากสถานการณ์ การระบาดของวัณโรคปอดและการดื้อยาของเชื้อวัณโรค ทําให้มีผู้ป่วยวัณโรคปอดมีโอกาสเจ็บป่วยจนต้องเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ผู้ป่วยวัณโรคปอดถือเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อที่สําคัญมาก หากเกิดความล่าช้าในการรักษาก็จะส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อและการควบคุมวัณโรคไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังการศึกษาในหลาย ๆ พื้นที่ พบความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากตัวผู้ป่วยเองและระบบบริการสุขภาพ ควรมีการดําเนินงานเชิงรุกอย่างเป็นระบบ โดยการจัดอบรมให้ความรู้ รณรงค์ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับวัณโรค สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองโรคในกลุ่มเสี่ยงระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชน ให้ได้รับการรักษาในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐโดยเร็วที่สุด กลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบาดและวัณโรคปอดนี้ด้วย สําหรับสถานการณ์ วัณโรคปอดของโรงพยาบาลโพนพิสัย ปีพ.ศ. 2560-25625 พบว9ามีผู้ป่วยวัณโรคปอด รายใหม่ จํานวน 57, 59 และ 45 คน ตามลําดับ อัตราผลสําเร็จของการรักษาคิดเป็นร้อยละ 84.21, 83.05 และ 75.55 ตามลําดับ อัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 11.32, 15.25และ 9.09 ตามลําดับ ซึ่งผลสําเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ผ่านยังต่ำกว่าหมาย เนื่องจากมีปัจจัยที่มีผลต่อผลสําเร็จการรักษาวัณโรคปอดได้แก่ การเสียชีวิตในระหว่างการรักษา ซึ่งการตายระหว่างรักษายังเป็นร้อยละหาที่ต้องนํามาพิจารณาและวิเคราะห์ ซึ่งอาจมีสาเหตุหนึ่งมาจากการค้นหาและคัดกรองได้น้อย เกิดจากความรู้ และความเข้าใจในแบบคัดกรองและขาดเทคนิคในการคัดกรอง ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ล่าช้าเนื่องจากการคัดกรองไม9ทั่วถึง หรือการวินิจฉัยโรคล่าช้า และเป็นผู้สูงอายุมีโรคร่วมเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเรื้อรังอื่น ๆ เมื่อป่วยตรวจพบว่าเป็นวัณโรคปอดทําให้มีอาการหนักแล้ว เมื่อเริ่มยาทําให้ร่างกายรับไม่ไหวจึงส่งผลให้มีภาวะแทรกซ่อนหลายอย่าง จึงทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการคัดกรองโรค วัณโรค
  1. ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่มีผลเป็นบวกได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผลบวกได้รับวินิจฉัยเพื่อกับการรักษา

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,705.00 0 0.00
25 มี.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 450.00 -
25 มี.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 กิจกรรมการคัดกรอง 0 16,255.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองเพื่อเข้ารับการตรวจภาวะความเป็นโรคต่อไป
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองที่เป็นกลุ่มผลบวกได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 14:54 น.