กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ กาย จิต สัมพันธ์ สร้างพลังต้านภัยโรค เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L7580-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุสูงวัยใจเกินร้อย เทศบาลตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2567
งบประมาณ 52,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอำไพ ศิริขันตยกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ประชากรทั้งหมดของประเทศไทยปี 2565 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 66.09 ล้านคน โครงสร้างประชากรไทยแบ่งตามช่วงอายุ 3 กลุ่ม คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) ประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) และประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ใน พ.ศ. 2565 พบว่า มีประชากรวัยเด็ก 10.61 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.05 ของประชากรทั้งหมด มีประชากรวัยแรงงาน 42.79 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.74 ของประชากรทั้งหมด และมีประชากรวัยสูงอายุ 12.70 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.21 เมื่อพิจารณาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าประชากรรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง พ.ศ. 2555-2562 และมีแนวโน้มลดลงในช่วง พ.ศ. 2563-2565 แต่ในขณะที่ประชากรในวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ประชากรในวัยแรงงานและวัยเด็กมีแนวโน้มลดลง (กรมการปกครอง, 2566ข) ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นสังคมสูงอายุ โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 และก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ใน พ.ศ. 2566 และสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในปี พ.ศ. 2576 ซึ่งประชากรที่สูงอายุจะมีสัดส่วนร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2563) ซึ่งใน พ.ศ. 2565 มีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุ ร้อยละ 19.21 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจัดว่าอยู่ในสังคมสูงวัย (กรมการปกครอง, 2566ข) จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนประชากรวัยทำงานประมาณ 4.5 คนต่อการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน

    ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น จะมีปัญหาสุขภาพ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมก็แตกต่างกันไปจากวัยอื่นๆ เนื่องจากวัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีความเสื่อมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ มีโรคแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งจิตใจอารมณ์และสังคมควรได้รับการส่งเสริมและฟื้นฟูให้มีกำลังใจ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและความสุข ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน และยังพบอีกว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ลดหลั่นลงมา ซึ่งโรคเหล่านี้ หากไม่ได้รับการรักษาดูแลอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกายทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบ่งเป็น ปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อายุ เพศ และพันธุกรรม และปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และนอกจากโรคเรื้อรังดังกล่าวยังพบอีกว่าผู้สูงอายุมีโรคข้อเข่าที่เกิดจากความเสื่อมของระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อและการไหลเวียนเลือด ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และจะมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไปรวมถึงปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันที่ส่งผลให้เกิดฟันผุ/รากทับฟันผุ โรคปริทันต์ นำไปสู่การเป็นมะเร็งช่องปากได้ซึ่งหากผู้สูงอายุไม่รักษาสุขภาพช่องปากให้ดีถ้าหากสูญเสียฟันไปแล้ว จะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมากอีกทั้งยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันด้านบุคลิกภาพ การเข้าสังคม การพูดคุย การบดเคี้ยวอาหาร และการรับรส เป็นต้น สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ซึ่งพบผู้สูงอายุผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ใน 5 อันดับแรกของการสูญเสียปีสุขภาวะ รองจากโรคเรื้อรัง ซึ่งสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ ความวิตกกังวล ซึมเศร้านอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อม ปัญหาเรื่องเพศ นอกจากนี้การสำรวจสุขภาพจิตผู้สูงอายุโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติด้วยแบบคัดกรองความสุข 15 ข้อ พบว่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคนทั่วไปโดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ เป็นผู้ที่มีความเปราะบางทางจิตใจ และมีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรัง ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตัวเองลดลง

    ในเขตเทศบาลตำบลฉลุง เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นเช่นเดียวกัน มีผู้สูงอายุในพื้นที่ประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะเสี่ยงสูง อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุดังกล่าว ขาดความมั่นใจความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน

    ชมรมผู้สูงอายุสูงวัยใจเกินร้อย เทศบาลตำบลฉลุง ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงจัดทำโครงการ กาย จิต สัมพันธ์ สร้างพลังต้านภัยโรค ประจำปี 2567 ขึ้น โดยใช้กลยุทธ์หลักการ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว สร้างความสุขให้ผู้สูงอายุ ประกอบกระบวนการให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย แก่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า

ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และข้อเท้า ข้อเข่า ฝ่าเท้า มากขึ้น

80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรมทางสังคม

80.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้า และข้อเข่า ด้วยระบบวารีบำบัด

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้าและข้อเข่า ฝ่าเท้า ด้วยระบบวารีบำบัด

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
  4. ผู้สูงอายุมีสุขภาพข้อเท้า ข้อเข่า ดีขึ้นจากการได้รับการบำบัดฟื้นฟูข้อเท้าและข้อเข่า ฝ่าเท้า ด้วยระบบวารีบำบัด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2567 10:35 น.