กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมผู้จัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน
รหัสโครงการ 2567-L6896-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 72,076.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัจวา หล๊ะเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เป็นช่วงวัยที่มีอารมณ์รุนแรง  อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อการแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงไปจากวัยเด็ก รวมถึง  อยู่ในช่วงของการค้นหาตนเอง จึงเป็นวัยที่ต้องการความเข้าใจและการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อน ครู  เป็นต้น ในขณะเดียวกันวัยรุ่นใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในสถานศึกษา ดังนั้นครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและช่วยเหลือกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าว จากพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 มาตรา 6 ระบุสาระสำคัญว่า สถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดให้มีการเรียนการสอนเพศวิถีให้เหมาะสมตามช่วงวัยของนักเรียน โดยจัดหา พัฒนาผู้สอน และให้คำปรึกษา ตลอดจนจัดให้มีระบบดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง และส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัยเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการเรียนการสอนในหลักสูตรเพศวิถีศึกษา แต่หลักสูตรดังกล่าวกลับไม่ประสบความสำเร็จในเชิงปฏิบัติ เนื่องจากการเรียนการสอนไม่ได้เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ต้นเหตุของปัญหา และวิธีการสอนมักจะเน้นการบรรยายเป็นหลัก ทำให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบที่จำกัด ไม่มีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ถกถามหรือแสดงความคิดเห็นเรื่องเพศอย่างอิสระมากนัก เมื่อเพศศึกษาในห้องเรียนไม่ตอบโจทย์ นักเรียนจึงต้องอาศัยความรู้นอกห้องเรียน ซึ่งแหล่งข้อมูลยอดนิยมอย่างอินเตอร์เน็ตอาจไม่ถูกต้องเสมอไป การปรึกษาครูหรือบุคลการทางการศึกษาก็อาจถูกมองว่าเป็นเด็กหมกมุ่นเรื่องเพศ หรือแม้แต่การปรึกษากับผู้ปกครองก็อาจถูกห้ามไม่ให้รับรู้เรื่องเพศศึกษาอีกเลย ปัญหาเรื่องเพศจึงไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด อันจะเห็นได้จากปัญหาเรื่องเพศที่ยังคงเป็นประเด็นในสังคมอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี ๒๕๖๔ พบว่าอัตราการคลอดมีชีพในกลุ่มประชากรวัยรุ่นเพศหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ยังสูงถึง ๒๔.๔: ๑,๐๐๐ คน และในวัยรุ่นเพศหญิงอายุ ๑๐-๑๔ ปี ยังอยู่ที่ ๐.๙: ๑,๐๐๐ คน    ส่วนอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชน อายุ 15-24 ปี ยังคงมีอัตราป่วยสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยใน  ปี 2564 อัตราป่วยยังคงอยู่ที่ 131.2 ต่อประชากรอายุ 15-24 ปี แสนคน จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าวัยรุ่นยังขาด    องค์ความรู้ในเรื่องเพศ ประกอบกับการถูกปิดกั้นและจำกัดพื้นที่ในการศึกษา ทำให้การเรียนรู้วิธีป้องกันก่อนจะเกิดปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับความสำคัญ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่รุนแรงตามมา เช่น การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น การใช้สารเสพติด รวมถึงปัญหาสุขภาพจิต
    จากพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ข้อ 19 กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ต้องจัดให้มีการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาลเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 56 ข้อ 3 เทศบาลนครมีหน้าที่ต้องทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข งานส่งเสริมสุขภาพ เทศบาลนครตรัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมผู้จัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน เพื่อให้ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครตรัง ได้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน และมีศักยภาพในการพัฒนาหลักสูตรเพศวิถีศึกษา เพื่อให้วัยรุ่นในวัยเรียนสามารถเข้าถึงความรู้ที่ถูกต้องในห้องเรียน ทำให้การเรียนรู้เรื่องเพศเป็นเรื่องปกติที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้รอบด้านในการใช้ชีวิตทางเพศของตนเองอย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครตรังมีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตรผู้จัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครตรังมีครูที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรผู้จัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน

2 เพื่อให้โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครตรังที่มีการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษารอบด้าน ได้รับการติดตามการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน (Coaching)

ร้อยละ 80 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครตรังที่มีการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษารอบด้าน ได้รับการติดตาม การจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน (Coaching)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ(15 มี.ค. 2567-30 ส.ค. 2567) 70,076.00            
2 กิจกรรมติดตามการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษารอบด้าน (Coaching)(15 มี.ค. 2567-30 ส.ค. 2567) 2,000.00            
รวม 72,076.00
1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 70,076.00 0 0.00
15 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 70,076.00 -
2 กิจกรรมติดตามการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษารอบด้าน (Coaching) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 2,000.00 0 0.00
15 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมติดตามการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษารอบด้าน (Coaching) 0 2,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูมีศักยภาพในการสอนและพัฒนาหลักสูตรเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านในสถานศึกษา
  2. นักเรียนได้รับการศึกษาในหลักสูตรเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้อย่างเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2567 13:28 น.