กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคที่เกิดในฤดูร้อน โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด (heat stroke)
รหัสโครงการ 67-L2502-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 -
กำหนดวันส่งรายงาน 2 พฤษภาคม 2567
งบประมาณ 60,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ มะนาเซ มะหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันภาวะโลกร้อนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้อุบัติการณ์ของการเจ็บป่วยจากความร้อนสูงขึ้น ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วยจากความร้อนขั้นรุนแรงกล่าวคือ โรคลมร้อน (Heat stroke)  จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค โดยข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ Health Data Center (HDC) ระดับจังหวัด, ระดับเขต และระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พบว่าระหว่างปี 2560 - 2564 พบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก จำนวน 114, 88, 126, 129, 94 ราย ตามลำดับ โดยพบผู้ป่วยสูงสุดในปี 2563 ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนและกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ อายุ 15-59 ปี อายุ 60 ปีขึ้นไป และอายุ 10-14 ปี อาชีพที่พบมากที่สุด คือ เกษตรกร คนงานรับจ้าง และนักเรียน/นักศึกษา ตามลำดับ พบมากที่สุดในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ” ประเทศไทยจะมีอากาศร้อนจัดมากขึ้น อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำและเสี่ยง ต่อการเป็นโรคลมแดด หรือโรคฮีตสโตรก กลุ่มเสี่ยงคือ คนที่ออกกำลังกาย หรือทำงานในอากาศร้อนจัด ระบบระบายอากาศไม่ดี ใส่เสื้อผ้าหนาหรือกันระเหยของเหงื่อ ดื่มน้ำน้อย หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคฮีตสโตรก เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป ไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ทันทำให้มีอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส รวมถึงการขาดน้ำและเกลือแร่ร่วมด้วยเป็นเวลานาน สัญญาณสำคัญคือไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ ต่างจากการเพลียแดดทั่วไปที่จะพบมีเหงื่อออกด้วย ผู้ที่เป็นฮีทสโตรกจะกระหายน้ำมาก อ่อนเพลีย เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ความดันต่ำ หน้ามืด หายใจเร็ว และอาจรุนแรงถึงขั้น เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว ตับและไตวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้ช็อก หมดสติ และเสียชีวิต โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด (heat stroke) เป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากความร้อนที่มีความรุนแรงมากที่สุด หลายประเทศทั่วโลก จึงให้ความสำคัญ โดยมีรายงานว่าทำให้้เกิดการเสียชีวิต    ได้ถึงร้อยละ 10-50 และผู้รอดชีวิตอาจมีความพิการทางระบบประสาทอย่างถาวรร้อยละ 7-20 โรคลมร้อนเป็นภาวะที่ อุณหภูมิแกนของร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการสับสน เพ้อ ชักเก็รง ซึมหรือหมดสติ และอาจส่งผลต่อการ ทำงานของร่างกายทุกระบบได้ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและรักษาทันที่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดและสามารถฟื้นคืนสู่สภาพร่างกายที่ปกติได้ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการรณรงค์ป้องกันโรคที่เกิดในฤดูร้อน โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด (heat stroke) ช่วงฤดูร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกับประชาชนในพื้นที่ และให้ประชาชาชนในพื้นที่ได้รู้จักป้องกัน เตรียมรับมือปรับกับสภาพอากาศฤดูร้อนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนม มีความรู้ ความเข้าใจ วิธีป้องกันโรคที่เกิดในฤดูร้อน โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด (heat stroke)

ประชาชนได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่เกิดในฤดูร้อน

2 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกับประชาชนในพื้นที่ และให้ประชาชาชนในพื้นที่ได้รู้จักป้องกัน เตรียมรับมือปรับกับสภาพอากาศฤดูร้อนได้

ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี และชุมชนเกิดความเข้มแข็งและร่วมในการป้องกันได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคและสามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้
2 ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี และชุมชนเกิดความเข้มแข็งและร่วมในการป้องกันโรคและควบคุมปรับกับสภาพอากาศในฤดูร้อนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2567 14:51 น.