กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพอกเข่าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2541-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 24,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมมัดตัรมีซี สาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24,000.00
รวมงบประมาณ 24,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ปัจจุบันอัตราการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยโรคนี้ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ ได้แก่ ปวดข้อ ข้อฝืด มีปุ่มกระดูกงอกบริเวณข้อ การทำงานของข้อเสียไป และการเคลื่อนไหวลดลง ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น รวมทั้งสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคในกลุ่มโรคข้อและกระดูก อาทิ ความเร่งรีบในการใช้ชีวิต ประชากรขาดการใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคมากขึ้น หรือ อีกทางหนึ่งคือ ลักษณะการประกอบอาชีพที่ใช้แรงงาน การใช้ชีวิต อิริยาบถท่าทางต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้มีแรงกระทำต่อข้อมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของกระดูก และการสึกกร่อนของข้อ ซึ่งจะเกิดอาการปวดข้อตามมา แนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยประกอบด้วยการบำบัดโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological therapy) การบำบัดด้วยการใช้ยา (pharmacological therapy) และการบำบัดโดยการผ่าตัด (surgical treatment) นอกจากการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังมีการนำการแพทย์แบบผสมผสานมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะศาสตร์การแพทย์แผนไทย ได้แก่ การรักษาด้วยการนวดไทย การประคบสมุนไพร การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อลดอาการปวดเข่า รวมถึงการทำหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยต่างๆ เช่น การเผายา การกักน้ำมัน และการพอกยา ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ จึงได้ทำโครงการพอกเข่าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งมีการนำสมุนไพรไทยที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชน และมีสรรพคุณในการลดอาการปวด และการอักเสบมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่า โดยจะเลือกเป็นวิธีการพอกเข่า และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และผู้ที่มีอาการปวดเข่ามีอาการปวดเข่าลดลง

0.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้มีการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าเบื้องต้นได้

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 24,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 คัดกรองผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า 0 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ และป้องกันอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และสาธิตท่ากายบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน 60 15,100.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ให้บริการพอกเข่าด้วยสมุนไพร 0 8,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และผู้ที่มีอาการปวดเข่ามีอาการปวดเข่าลดลง
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าเบื้องต้นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2567 00:00 น.