กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุง
รหัสโครงการ 67-L3018-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 เมษายน 2567 - 18 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 67,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยัสมีน หะยีอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันถ้าจะพูดถึงสัตว์ที่เป็นพาหนะนำโรค สัตว์อันดับต้นๆ ที่เราคิดคงไม่พ้นยุง เนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคร้ายต่างๆ ที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก ยุงเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เป็นต้น โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่มีผู้ป่วยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออก 5 ปี ย้อนหลังจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ปี 2562 – ป่วย 130,705 ราย – เสียชีวิต 142 ราย ปี 2563 – ป่วย 71,292 ราย – เสียชีวิต 51 ราย ปี 2564 – ป่วย 9,956 ราย – เสียชีวิต 6 ราย ปี 2565 – ป่วย 45,145 ราย – เสียชีวิต 29 ราย ปี 2566 (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 66) – ป่วย 156,097 ราย – เสียชีวิต 175 ราย โดยในปี 2566 ที่ผ่านมียอดผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศสูงถึง 156,097 ราย และเสียชีวิต 175 ราย ซึ่งในตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงถึง 82 ราย พบมากในเขตหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 เนื่องจากเป็นพื้นที่แออัด ที่มีประชากรกระจุกตัวอย่างหนาแน่น ทั้งยังมีประชากรแฝงที่เข้ามาอยู่อาศัย มาเรียน มาทำงานในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดำเนินการเพื่อตัดวงจรการเกิดโรคที่มาจากยุง จึงมีผู้คิดหาตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิด เช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย เพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ และในตำบลรูสะมิแลส่วนใหญ่มีประชากรแฝง เช่น นักเรียน นักศึกษา ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออก เนื่องจากรับเชื้อจากพื้นที่อื่นและมาอาศัยในพื้นที่เมือง ดังนั้นเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลรูสะมิแล จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์ไล่ยุงสมุนไพรตะไคร้หอมขึ้น โดยมีการศึกษาฤทธิ์ไล่ยุงของตำรับน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ citronella, geraniol และ citronellol พบว่าตำรับที่มีน้ำมันตะไคร้หอม สามารถป้องกันยุงได้นานประมาณ 2-4 ชั่วโมง และยังเป็นสมุนไพรที่สามารถหาได้ง่ายในพื้นที่อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการทำสเปรย์ไล่ยุงตะไคร้หอม

 

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการทำกิจกรรมร่วมกันมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

 

3 เพื่อลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลรูสะมิแล

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 67,575.00 0 0.00
17 - 18 เม.ย. 67 เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 50 10,600.00 -
17 - 18 เม.ย. 67 การทำสเปรย์ไล่ยุง 0 56,975.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการทำสเปรย์ไล่ยุงตะไคร้หอม
  2. ประชาชนในตำบลรูสะมิแลมีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
  3. ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลรูสะมิแล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 13:30 น.