กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลปากแจ่ม ร้านอาหารปลอดภัยไร้กัญชา
รหัสโครงการ 67-L1536-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,698.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุษา ทองมุกดากุล
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักเลขานุการกองทุนฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
      หลังจากมีการ "ปลดล็อก" กัญชาออกจากยาเสพติดในก่อนหน้านี้ จะทำให้เราได้รับข่าวสารเกี่ยวกับผู้ที่ใช้ หรือเสพและผู้ที่เลือกรับประทานเมนูอาหารที่ปรุงโดยมีกัญชาเป็นส่วนประกอบ จนเกิดผลกระทบกับสุขภาพเริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น ส่วนหนึ่งของอาการแพ้และผลกระทบที่เกิดกับสุขภาพที่เริ่มมีข่าวให้เห็นนั้นล้วนมาจากการใช้กัญชา และการปลดล็อกล่าสุดยังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมปริมาณการใช้กัญชาเอาไว้ ล่าสุดในรายงานของผู้ป่วยที่รับกัญชาเข้าไปเกินขนาดของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร พบมีผู้ป่วย 4 ราย เป็นชายอายุน้อยสุด 16 ปี อายุมากสุด 51 ปี ชายวัย 51 ผู้นี้ เสียชีวิตหลังจากมีอาการแน่นหน้าอกหลังจากการใช้กัญชา และมีอาการหัวใจล้มเหลว ส่วนเยาวชนชายอายุ 16 ปี ใช้กัญชามากเกินขนาด และในขณะเดียวกันเครื่องดื่มแต่ละประเภทควรใส่กัญชาปริมาณแค่ไหน ประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ได้ระบุคำแนะนำเอาไว้ ประกาศนี้ครอบคลุมถึง ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร และการจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข 2535 โดยเงื่อนไขที่ร้านอาหาร หรือผู้ขายอาหารต้องทำเมื่อขายอาหารที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ คือ 1. จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา 2. แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
3. แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหาร ตามประเภทการทำประกอบหรือปรุงอาหาร หลักการและเหตุผล
      หลังจากมีการ "ปลดล็อก" กัญชาออกจากยาเสพติดในก่อนหน้านี้ จะทำให้เราได้รับข่าวสารเกี่ยวกับผู้ที่ใช้ หรือเสพและผู้ที่เลือกรับประทานเมนูอาหารที่ปรุงโดยมีกัญชาเป็นส่วนประกอบ จนเกิดผลกระทบกับสุขภาพเริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น ส่วนหนึ่งของอาการแพ้และผลกระทบที่เกิดกับสุขภาพที่เริ่มมีข่าวให้เห็นนั้นล้วนมาจากการใช้กัญชา และการปลดล็อกล่าสุดยังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมปริมาณการใช้กัญชาเอาไว้ ล่าสุดในรายงานของผู้ป่วยที่รับกัญชาเข้าไปเกินขนาดของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร พบมีผู้ป่วย 4 ราย เป็นชายอายุน้อยสุด 16 ปี อายุมากสุด 51 ปี ชายวัย 51 ผู้นี้ เสียชีวิตหลังจากมีอาการแน่นหน้าอกหลังจากการใช้กัญชา และมีอาการหัวใจล้มเหลว ส่วนเยาวชนชายอายุ 16 ปี ใช้กัญชามากเกินขนาด และในขณะเดียวกันเครื่องดื่มแต่ละประเภทควรใส่กัญชาปริมาณแค่ไหน ประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ได้ระบุคำแนะนำเอาไว้ ประกาศนี้ครอบคลุมถึง ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร และการจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข 2535 โดยเงื่อนไขที่ร้านอาหาร หรือผู้ขายอาหารต้องทำเมื่อขายอาหารที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ คือ 1. จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา 2. แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
3. แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหาร ตามประเภทการทำประกอบหรือปรุงอาหาร หลักการและเหตุผล (ต่อ) เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู อาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่ม แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู 4. แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย ในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบแสดงคำเตือนรายการ อาหารที่มีหรือการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ ด้วยการระบุข้อความ
1. เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมกัญชา เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม 2. สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน 3. หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที 4. ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (CBD) ควรระวังในการรับประทานอาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
5. ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันรักษาโรค       ซึ่งมีเคสตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับเด็กชายวัย 6 ขวบ ที่ได้รับสารจากกัญชาแบบไม่ทันคาดคิดว่า ในผลิตภัณฑ์ขนมรูปน่องไก่ที่เด็กชายซื้อมารับประทานจะมีส่วนผสมของกัญชา จนได้เห็นว่าอาการสมาธิสั้นที่ลูกของพวกเขาประสบอยู่รุนแรงขึ้น เด็กชายไม่อาจอยู่นิ่ง ไม่ฟังและไม่ตอบคำถามใคร ได้แต่กระโดดโลดเต้นปีนป่ายมากกว่าปกติ ก่อนหลับใหลไปกว่า 11 ชั่วโมง และขณะที่เด็กหญิงวัย 8 ขวบและครอบครัวในจังหวัดนครพนม เพิ่งเข้าใจความหมายของประโยค ‘high to high BKK’ บนหน้าซองขนมเยลลี่ที่ญาติซื้อมาฝาก หลังเธอเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และหลับปลุกไม่ตื่น ถึงขั้นต้องมาพบแพทย์และเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และรายที่ 3 เด็กชายในจังหวัดสกลนคร แค่รับขวดน้ำชาแบรนด์ดังจากคนแปลกหน้ามาดื่มด้วยความไร้เดียงสา แต่เผอิญมีสาร THC ของกัญชาเจือปนในนั้น ทำให้เขาเป็นลมหมดสติ หัวใจเต้นเร็ว ตกอยู่ในภาวะวิกฤต ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาล 2 วันเต็มๆ กว่าจะรู้สึกตัว        จาก 3 กรณีข้างต้น คือส่วนหนึ่งจาก 30 กรณีผู้ป่วยเด็กจากกัญชา ในรายงานของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ข้อมูลตั้งแต่ 21 มิถุนายน 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเหตุการณ์ทำนองนี้มิได้ส่งผลเพียงเยาวชนเท่านั้น แม้แต่คนเป็นผู้ใหญ่ยังเกิดพลาดพลั้งรับประทานกัญชาและประสบอาการแพ้รุนแรงได้ ดังที่ปรากฏในข่าว ‘สาวเตือนภัย! ซื้อต้มจืดมะระไม่รู้แม่ค้าใส่ใบกัญชา สุดท้ายแพ้หนักจนเข้า รพ.’ ‘หนุ่มกินก๋วยจั๊บใส่กัญชา แพ้หนักต้องหามเข้า รพ. จ่อแจ้งความ หากร้านไม่รับผิดชอบ’ และอื่นๆ อีกมากมาย  ‘อาหาร’ จึงเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและเข้าถึงคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย เมื่ออาหารถูกปรุงด้วยส่วนผสมใหม่ ที่หลายคนยังปราศจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ อีกทั้งผู้บริโภคไม่ได้รับคำเตือนที่เหมาะสมแก่การตัดสินใจ จึงกลายเป็นคำถาม    น่าขบคิดว่าเราจะจัดการกับอาหารผสมกัญชาอย่างไร อยู่ร่วมกับมันอย่างไร มีสิทธิ์เลือกหรือได้รับการคุ้มครองอย่างไร................2.ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม ได้จัดทำตำบลปากแจ่ม ร้านอาหารปลอดภัยไร้กัญชา เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของโทษของกัญชา อันเป็นประโยชน์ต่อการเลือกรับบริการ หรือเลือกบริโภคได้อีกทางเลือกหนึ่ง ถือเป็นการตัดสินใจโดยตัวของผู้บริโภคเอง ทั้งนี้ยังทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้รับบริการท่านอื่นๆด้วย เพื่อให้ประชาชนในชุมชนตำบลปากแจ่ม หรือผู้ใช้บริการสัญจรระหว่างทาง มีความปลอดภัยจาการใช้กัญชาเป็นส่วนประกอบในอาหาร จึงจัดทำโครงการตำบลปากแจ่ม ร้านอาหารปลอดภัยไร้กัญชานี้ขึ้น


กลุ่มเป้าหมาย ๔.๑ 1. ร้านค้าที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในตำบลปากแจ่ม หมู่ที่ 1-7 จำนวน 24 ร้าน
หมู่ที่ ๑ จำนวน 4 ร้าน หมู่ที่ ๒ จำนวน ๓ ร้าน หมู่ที่ ๓ จำนวน ๕ ร้าน
หมู่ที่ ๔ จำนวน ๑ ร้าน หมู่ที่ ๕ จำนวน ๕ ร้าน หมู่ที่ ๖ จำนวน ๓ ร้าน หมู่ที่ ๗ จำนวน ๓ ร้าน และ รพ.สต.ปากแจ่ม จำนวน ๑ แห่ง งบประมาณ ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากแจ่ม เป็นเงิน 25,698 บาท (สองหมื่นห้าพันหกร้อยเก้าสิบแปดบาทถ้วน)รายละเอียด ดังนี้ ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา   1. กำหนดกำหนดการ/แผนร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   2. ประชุมชี้แจงโครงการให้แก่สมาชิก อสม. เพื่อทราบและเตรียมความพร้อมในการลงสำรวจร้านค้า-    ไม่ใช้งบประมาณ    -
      ๑ เมษายน – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖7   3. จัดทำเอกสาร เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการสำรวจและลงพื้นที่ประเมินความรู้เบื้องต้นก่อนการประชาสัมพันธ์   4. ประชุมชี้แจงทีม อสม. ทราบถึงแผนกำหนดการลงสำรวจร้านค้าตามหมู่บ้าน และประเมินความรู้เบื้องต้น(ก่อนการประชาสัมพันธ์ความรู้)
1.กระดาษทำแบบประเมิน(ก่อน) 24 แผ่นราคาแผ่นละ 1 บาท เป็นเงิน  24  บาท
    2.ค่าจัดจ้างทำสปอตส์เสียงวิทยุ          ราคา 3,๐๐๐  บาท จำนวน ๑ รายการ  เป็นเงิน  ๓,๐๐๐  บาท     3.ค่าแฟลชไดร์ฟบันทึกข้อมูลจำนวน 1 อัน ราคาอันละ 15๐ บาท              เป็นเงิน  150  บาท

4.ค่าป้ายนวัตกรรมอาหารปลอดภัย ไร้กัญชา(กว้าง54 ซม.Xยาว54 ซม.) ราคาป้ายละ ๙๐๐ บาท จำนวน ๒๕ ป้าย             เป็นเงิน 22,500 บาท
๑ พฤษภาคม – 29 กันยายน ๒๕๖7     5. ลงประเมินและติดตามร้านค้าหลังการประชาสัมพันธ์และทำแบบประเมินความรู้(หลังการประชาสัมพันธ์ความรู้)     6. รวบรวมข้อมูลร้านค้าและพิจารณาเกณฑ์การมอบป้ายนวัตกรรมฯ 5.กระดาษทำแบบประเมิน(หลัง) 24 แผ่น ราคาแผ่นละ 1 บาท
            เป็นเงิน  24    บาท

๑ พฤษภาคม – 29 กันยายน ๒๕๖7     7. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการฯ 1-30 กันยายน ๒๕๖7

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,698  บาท (สองหมื่นห้าพันหกร้อยเก้าสิบแปดบาทถ้วน)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจ ให้ความสนใจในการเลือกรับบริการ บริโภค อาหารที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
        2. ร้านค้าผู้ประกอบการอาหาร มีป้ายสัญลักษณ์ที่แสดงให้ทราบถึงข้อมูลการใช้กัญชาในอาหาร เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกบริโภคได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 10:53 น.