กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ตำบลปากแจ่ม ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L1536-1-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปากแจ่ม
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 28,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุษา ทองมุกดากุล
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักเลขานุการกองทุนฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายภารกิจแก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เกี่ยวกับการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพ และปลอดภัย ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลทางวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย และสมประโยชน์ โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในพื้นที่ให้บริการของแต่ละหน่วยบริการ ซึ่งการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นหนึ่งในภารกิจหลัก 3 ประการ ตามแนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย 1.การพัฒนาระบบฐานข้อมูล 2. การพัฒนาศักยภาพ (Empowerment) 3. การเฝ้าระวังและบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk management) โดยมุ่งเน้นการคุ้มครอง และส่งเสริมสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประกอบด้วย ๑.อาหาร ๒.ยา 3.เครื่องสำอาง 4.เครื่องมือ แพทย์ 5.วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน 6. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ๗.ยาเสพติดให้โทษ (ที่ใช้ทางการแพทย์) ๘.สารระเหย
        สถานการณ์ปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในปัจจุบัน ด้านผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่ามีการบริโภคหวาน มัน เค็ม เกินความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน มีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง หรือการพบยาแผนปัจจุบันในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิดมักพบปัญหาการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ เกินจริง โดยเฉพาะสรรพคุณในการบำบัด รักษาโรคแบบเดียวกับยา เช่น รักษาโรคปวดเข่า บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง บำรุงผิวพรรณ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ลดน้ำหนัก ไปจนถึงการรักษาโรคร้ายแรง การบริโภคอาหารเพื่อมุ่งหวังสรรพคุณดังกล่าวแล้ว อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายจากยาที่ถูกลักลอบใส่ลงไปในอาหาร ส่งผลเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พบปัญหาฉลากเครื่องสำอางไม่ถูกต้อง มีการโฆษณาเครื่องสำอางโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ด้านผลิตภัณฑ์ยา พบว่ามีการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมในชุมชน ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร มีปลอมปนสารเตียรอยด์ หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศได้ ได้แก่ ภาวะโรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
        สิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ต้องดำเนินการในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ คือมุ่งเน้นรูปแบบการทำงาน“เชิงรุก”โดยการเผยแพร่ความรู้ และคำแนะนำแก่ผู้บริโภค ที่ถูกต้อง และจำเป็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพต่างๆ การตรวจสอบอาหารปนเปื้อน เบื้องต้น การตรวจสอบฉลากอาหาร การตรวจสอบการโฆษณาอาหาร และการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีการจัดกระบวนการ “เชื่อมโยง” เพื่อให้ภาคีเครือข่าย ตลอดจนประชาชนในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความเสี่ยงให้กับตนเอง ครอบครัว ไปจนถึง “ชุมชน” ในรูปแบบเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในชุมชน อันเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้เข้มแข็ง และยังพัฒนาผู้ประกอบการ และสถานประกอบการให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ซึ่งสุดท้ายย่อมจะส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม จำนวน 28,475 บาท (-สองหมื่นแปดพันสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน-) รายละเอียด ดังนี้
ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา
1.อบรมให้ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหาร ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
ขนาด 2×1.5 เมตร เป็นเงิน 450 บาท 2.ค่าเอกสารประกอบการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 83 เล่ม เล่มละ 50 บาท เป็นเงิน 4,250 บาท
3.ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 83 คน มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,075 บาท
4.ค่าวิทยากร อบรมอาสาสมัครสาธารณสุข
จำนวน 2 วัน วันละ 3 ชั่วโมง รวม 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท มีนาคม-กรกฎาคม
2567
2.ตรวจแนะนำร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1.ค่าแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ (PVC) ขนาด 40×60 ซม. จำนวน 48 ป้าย ป้ายละ 150 บาท เป็นเงิน
7,200 บาท เมษายน-สิงหาคม 2567
3.ตรวจการทดสอบสารปนเปื้อนด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น ในสถานที่ ที่มีการจำหน่ายอาหาร โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และอื่นๆ 1.ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 1 ชุด
เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ในอาหาร ชุดละ 350 บาท จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 700 บาท 3.ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร ชุดละ 75 บาท
จำนวน 20 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท 4.ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิคในอาหาร
จำนวน 2 ชุด ชุดละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 5.ชุดตรวจหายาฆ่าแมลง พร้อมอุปกรณ์
จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 3,500 บาท 6.ชุดทดสอบความสะอาดภาชนะสัมผัสอาหารและมือ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 1,000 บาท 7.ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง
จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 1,200 บาท 8.ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ในอาหาร
(สารฟอกขาว) ในอาหาร จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 500 บาท เมษายน-สิงหาคม 2567
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 28,475 บาท (-สองหมื่นแปดพันสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน-)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีระบบเฝ้าระวัง และบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ   2. เกิดระบบฐานข้อมูลงาน คุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน ตลอดจนการติดตามเฝ้าระวังป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านการบริโภคในอนาคต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 12:25 น.