กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รู้ไว้ ป้องกันได้ ให้ปลอดภัยจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 11,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดา หะยีอุมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 11,440.00
รวมงบประมาณ 11,440.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ๒ และ3 ตามลำดับ ของโรคมะเร็งทั้งหมด โรคมะเร็งภัยร้ายที่ทั่วโลกต่างหวาดกลัว และมีอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นต่อเนื่องในทุกๆปี ตามรายงานแผนการป้องกันและป้องกันโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ.2561-2565) ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในสถานการณ์โรคมะเร็งโลก ระบุว่า ปัจจุบัน โรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนทั่วโลก โรคมะเร็ง จึงถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี พ.ศ.2565 พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมา พบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้าน สังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัด กรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีและอาจลดการตรวจลงเหลือเพียง ตรวจทุก ๒ – ๓ ปีเมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง ๓ ครั้ง/๓ ปีติดต่อกัน ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจาก โรคมะเร็งลดลง จากปีที่ผ่านมาประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมีจำนวนน้อยลงทุกปี และมีอัตราป่วยสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้และตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกละมะเร็งลำไส้ ปี2567 เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการ โดยเน้น การตรวจ หาเชื้อ HPV เพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรก รวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็ง ลำไส้เบื้องต้น เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม และสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน จากการดำเนินงานในช่วงปีงบประมาณ 2565 – 2566 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสาในการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกช่วงอายุ 30 – 60 ปี และมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีอายุ 30 – 70 ปี และมะเร็งลำไส้อายุ 50 - 70 ปี มาอย่างต่อเนื่อง และได้พัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองแบบต่าง ๆ การส่งเสริมความรู้แก่กลุ่มแกนนำ และกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผลการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รูปแบบการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมที่สุดต่อไป โครงการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตนเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสาซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุดจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี และมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30 - 60 ปี

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 50 - 70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมาย ชายและหญิง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้ใหญ่

3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

ร้อยละ 100 ของผู้ที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาที่ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 14:35 น.