กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุข้อเข่าดี ด้วยยาสมุนไพร
รหัสโครงการ 67-L8302-1-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟิรซา เง๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุที่มารับบริการมาด้วยอาการข้อเข้าเสื่อม
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคข้อเสื่อมเป็นปัญหาหลักที่พบมากสุดในผู้สูงอายุ โดยประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมถึงร้อยละ 50 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งนับเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีหลายวิธีการ เช่น การผ่าตัด การใช้ยา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ในการรักษาอาการปวดเข่าถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจจะต้องใช้ยาต้านการอักเสบไม่มีสเตียรอยด์ ร่วมด้วย ซึ่งหากรับประทานยาจำพวกนี้เป็นระยะเวลานาน อาจมีการสะสมสารตกข้างในเซลล์ตับได้ ส่วนวิธีการผ่าตัดเป็นการรักษาขั้นสุดท้ายเพื่อรักษาไม่ให้เกิดไตวาย    จากการกินยา
      ตามการรักษาข้อเข่าเสื่อมในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย การรักษาด้วยการนวดกดจุด การจ่ายยาสมุนไพร และการพอกยาเพื่อช่วยลดหรือบรรเทาอาการปวด ซึ่งเกิดจากเลือดและลมไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้มีการคั่งอั้นของลมส่งผลให้เกิดอาการปวด ยาสมุนไพรนั้นถือว่าเป็นยาที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ และเป็นการนำสมุนไพรที่อยู่รอบๆตัวมาใช้ประโยชน์ ส่วนการพอกด้วยสมุนไพรเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แพทย์แผนไทยนิยมใช้ในการรักษาโรคจับโปงเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคจับโปงเข่า จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ขณะที่บวมและอักเสบจะมีความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งการพอกด้วยสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรมาพอกเพื่อดูดพิษการอักเสบตามข้อต่างๆ ที่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และ เป็นการช่วยขับลม กระจายลม บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดตามข้อต่างๆ อาการข้อฝืดลดลง สามารถเหยียดและงอข้อเข่าได้ดีขึ้นโดยการรักษาด้วยการพอกสมุนไพรจะมีการใช้สมุนไพรรสร้อนและรสเย็น ขึ้นอยู่กับอาการแสดงของโรคและความเหมาะสมในการใช้ยาพอกสมุนไพร คลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโล พบว่าร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุที่มารับบริการมาด้วยอาการข้อเข้าเสื่อม
    จากปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล เห็นถึงความสำคัญของการดูแลข้อเข่า ในผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น ดังนั้น ทางรพ.สต.บ้านสะโล จึงมีแนวคิดที่แก้ไขปัญหาในข้างต้นให้ได้ครบถ้วนทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นและขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการ โรคข้อเข่าเสื่อม และวิธีการรักษาตามหลักการแพทย์แผนไทย

 

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมใส่ใจ สร้างเสริม สุขภาพผู้สูงอายุ ห่างไกลข้อเข้าเสื่อม โดยวิถีการแพทย์แผนไทย 0 20,000.00 -

๒. วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด) กิจกรรมดำเนินงาน   กิจกรรมที่ ๑ ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และอสม.ชี้แจงการดำเนินการโครงการ   กิจกรรมที่ ๒ จัดกิจกรรมอบรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและแนวทางในการรักษาตามศาสตร์      การแพทย์แผนไทยในเบื้องต้น   กิจกรรมที่ ๓ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวการโรคข้อเข่าเสื่อมและการดูแลตามหลักการแพทย์แผนไทย   กิจกรรมที่ ๔ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสาธิตเกี่ยวกับวิธีการพอกยาสมุนไพรที่ถูกต้อง   กิจกรรมที่ ๕ สรุปวิเคราะห์และประเมินผล วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด) ระยะเตรียมความพร้อม ๑. เขียนโครงการ เสนอ โครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๒. กำหนดแผนร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ๓. ประชุมชี้แจ้งโครงการให้ให้แก่สมาชิก อสม. เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้สูงอายุและเพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ ๔. จัดทำเอกสาร เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรม     ระยะดำเนินการ       ๑. กิจกรรมอบรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและแนวทางในการรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยในเบื้องต้น       ๒. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวการโรคข้อเข่าเสื่อมและการดูแลตามหลักการแพทย์แผนไทย       ๓. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวการโรคข้อเข่าเสื่อมและการดูแลตามหลักการแพทย์แผนไทย       ๔. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสาธิตเกี่ยวกับวิธีการพอกยาสมุนไพรที่ถูกต้อง       ๔. สรุปวิเคราะห์และประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและแนวทางในการรักษา การดูแลตนเอง ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยในเบื้องต้น ๒. ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและการรักษาตามหลักการแพทย์แผนไทย ๓. ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการพอกยาสมุนไพรอย่างถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
๔. การรักษาโดยการแพทย์แผนไทยเป็นที่ยอมรับในชุมชนมากขึ้น ๕. การรักษาด้วยวิธีการพอกยาสมุนไพรได้รับการยอมรับและเป็นตัวเลือกในการรักษาให้แก่ผู้สูงอายุได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 15:13 น.