กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ภัยอันตรายมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8302-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟิรซา เง๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม ปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก ๕,๐๐๐ ราย อัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก ๗ คน/วัน เป็น ๑๔ คน/วัน สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ  พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค,อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี ปีงบประมาณ 2566 จำนวนทั้งหมด 1,333 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการ HPV DNA Test จำนวน 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.02 ผลการตรวจปกติทุกคน จะเห็นได้ว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการตรวจมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากอายเจ้าหน้าที่ และไม่ตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูก และสตรีอายุ 30 - 70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่ และด้วยตนเอง ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 1,185 คน ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 965 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.43 พบมีความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อจำนวน 3 ราย ผลการตรวจซ้ำโดยแพทย์ยืนยันผลปกติ จำนวน 2 คน และอีก 1 คน รอผลการตรวจซ้ำอีกครั้ง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโล เล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ในหญิงอายุ ๓๐-๖๐ ปี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและเตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพิ่มขึ้น

10.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ภัยอันตรายมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 0 10,550.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 0 4,400.00 -
รวม 0 14,950.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด) ขั้นดำเนินการ     1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการพัฒนาสถานบริการเพื่อร่วมจัดทำโครงการ     2. ดำเนินการจัดทำโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ     3. จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมาย     4. ประชาสัมพันธ์โครงการ     ๕. อาสาสมัครสาธารณสุขแจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ       ๖. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ภัยอันตรายมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
      ๗. กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๘. เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขเยี่ยมติดตามกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
ขั้นหลังดำเนินการ
๑. สรุปและประเมินผลโครงการ
๒. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติและส่งต่อแพทย์       ๓. สรุปวิเคราะห์และประเมินผล       - ประเมินผล สรุปการดำเนินงานตรวจคัดกรอง แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรอง
      - รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มสตรีอายุ๓๐ - ๖๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๒๐ ๒. กลุ่มสตรีอายุ๓๐ – 6๐ ปี มีความรู้และสามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองร้อยละ 100 ๓. กลุ่มสตรีอายุ๓๐ - ๖๐ ปีที่มีความผิดปกติได้รับการส่งต่อ และได้รับการรักษาที่ถูกต้องร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 15:29 น.