กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยวิธี SMART TECHNIQUE
รหัสโครงการ 2567/L1465/1/1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยาง
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 48,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิจิตร เรืองแสนสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.509,99.48place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 48,500.00
รวมงบประมาณ 48,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคในช่องปากโดยเฉพาะโรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 - 3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารจำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อการขึ้นฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวม เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยางได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญญากล่าวคือการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ การควบคุมอาหารหวาน และการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่นๆ เช่น การใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทา การให้ทันตสุขศึกษา ซึ่งการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรหลายฝ่ายรวมทั้งครอบครัวต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยางจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโคกยางมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโคกยางมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

90.00
2 เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในเขตรับผิดชอบตำบลโคกยางได้รับการตรวจฟันและมีทักษะในการดูแลสุขภาพฟันเบื้องต้น

ร้อยละ 100 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในเขตรับผิดชอบตำบลโคกยางได้รับการตรวจฟันและมีทักษะในการดูแลสุขภาพฟันเบื้องต้น

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 48,500.00 0 0.00
27 มี.ค. 67 โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยวิธี SMART TECHNIQUE 130 48,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้อย่างถูกต้อง
  2. ลดโอกาสการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 09:12 น.