กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธี FIT test ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2979-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 18,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา กาฬแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในประเทศไทยพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับสองในเพศหญิง (จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) ที่น่ากังวลคืออัตราการเกิดโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทุก ๆ วันมีคนไข้เสียชีวิตจากโรคร้ายนี้เฉลี่ยวันละ 15 คน หรือปีละ 5,476 คน และมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน หรือปีละ 15,939 คน ทั้งนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีสาเหตุการเกิดโรคที่หลากหลาย แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันคือการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มเนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมูที่ผ่านการแปรรูป หรือปรุงด้วยความร้อนสูงเป็นเวลานานเช่นการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม และมีมันสูง รับประทานอาหารกากใยน้อย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงยังเกิดในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง คนที่เคยตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่แบบอะดีโนมา หรือทำการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังขณะที่ พญ.หทัยวรรณ ม่วงตาด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมมะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงในกลุ่มอายุ 50ปีขึ้นไป ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดนี้ในช่วงอายุดังกล่าวจึงสามารถป้องกัน หรือช่วยให้ตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มต้นได้มาก จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงคัดกรองโดยการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝง ในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Immunochemical Test (FIT)ปีงบประมาณ 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา มีประชากรไทยอายุ 50-70ปี ทั้งหมดจำนวน 1,690 ราย และตรวจคัดกรองเป็น 10% จากประชากรไทยอายุ 50-70ปี ทั้งหมด จำนวน 169 ราย ผลการตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระ (Positive; ผิดปกติ)จำนวน 21 ราย ส่งเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) จำนวน 6 ราย ปฏิเสธการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) จำนวน 15 ราย และผลจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)พบเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จำนวน 2 รายและส่งต่อรพเพื่อรับการวินิจฉัยต่อไปและได้รับการรักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง ดังนั้น การให้ความรู้การลดปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง รวมถึงการคัดกรองโดยการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝง ในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Immunochemical Test (FIT) ในประชาชน ซึ่งถ้าพบสามารถทำการรักษาให้หายหรือลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลามและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงได้ ทางโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบทุ่งพลา ได้เห็นความสำคัญในการให้ความรู้ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง และคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงในระยะเริ่มแรก ในประชาชนอายุ 50-70ปี จำนวน 1 ครั้ง ทุก 2 ปีซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค จึงได้จัดทำ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง ตำบลทุ่งพลา ปี 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง

0.00 100.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธี FIT test

ร้อยละของประชากรไทยอายุ 50-70 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธี FIT test

0.00 10.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ผลการตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อไปตรวจยืนยันและรับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่ผลการตรวจfit test ผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,320.00 0 0.00
4 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธี FIT test 0 18,320.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง ร้อยละ 100 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธี FIT testร้อยละ 10 3.กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งต่อไปตรวจยืนยันและรับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2567 00:00 น.