กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง (เสริมพลัง สร้างเครือข่าย ใส่ใจสุขภาพฟัน)
รหัสโครงการ 67-L5235-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประภาส ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภฤกษ์ การะเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาทันตสุขภาพนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ แต่ปัญหาทันตสุขภาพเป็นปัญหาซึ่งสามารถป้องกันและแก้ไขไม่ให้ลุกลามรุนแรงได้ ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงอันดับแรก คือ บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง เพราะจะมีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุสูง ประกอบกับเป็นกลุ่มที่เหมาะสมที่จะมีการดูแลทางทันตสุขภาพมากที่สุด และปัจจุบันปัญหาทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งปัญหาทันตสุขภาพนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาเกิดจากสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย เช่น อาจเกิดมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปาก การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากมีปัญหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และมีอัตราฟันผุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

เนื่องจากการฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความมีภาวะพึ่งพิงทางด้านสุขภาพช่องปาก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง รวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล ในเขตความรับผิดชอบบริการด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองรี มีจำนวนหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน มีจำนวนบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด 56 คน ซึ่งการดำเนินงานในด้านทันตสุขภาพในบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงยังต้องการความต่อเนื่องรวมไปถึงความครอบคลุมในการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ดูแลบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง รวมทั้งทีมเจ้าหน้าที่ (CM), และผู้ดูแลผู้ป่วย (CG), อสม.ตำบลคลองรี มีความรู้เข้าใจในการดูสุขภาพช่องปากผู้ป่วยในแต่ละราย ดังนั้นควรมีการฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ให้มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น    เข้าถึงบริการได้ง่ายดายเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
      จากการตรวจสภาวะช่องปากบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรีในปีงบประมาณ 2566 พบว่า  มีปัญหาโรคในช่องปาก โรคฟันผุ ร้อยละ 53.6 โรคเหงือกอักเส ร้อยละ 30.2 โรคปริทันต์อักเสบ ร้อยละ 5.3 และจำนวนการเข้ารับบริการรักษาทางทันตกรรมมีจำนวนน้อยมาก เนื่องจากบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่ต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรมมีการเข้าถึงบริการยากลำบาก มีภาวะความกลัวในการรักษาทางทันตกรรม ดังนั้นการมีสุขภาพดีประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้านรวมกัน ได้แก่สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ สุขภาพด้านสังคม จึงต้องมีการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี จึงควรพัฒนาสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมควบคู่กันไป ซึ่งต้องมีสุขภาพช่องปากที่ดีก่อนเช่นกัน เพราะสุขภาพช่องปากมีผลต่อการบดเคี้ยวอาหารได้ลำบาก กลุ่มบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงเป็นกลุ่มที่มีปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จึงควรได้รับการแก้ไขปัญหา     ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรี ได้ตระหนักและเล็งเห็นปัญหาจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพช่องปาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและผู้ดูแลสามารถดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยให้มีคุณภาพเพื่อลดการสูญเสียฟันที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตรับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2. เพื่อให้ผู้ดูแลบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตรับผิดชอบ ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
  1. ร้อยละ 100 บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  2. ร้อยละ 80 ผู้ดูแลบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตรับผิดชอบได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กลวิธีที่ 1 การอบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจฟัน และการดูแลสุขภาพช่องปาก
      กับทีมเจ้าหน้าที่ (CM), และผู้ดูแลผู้ป่วย (CG), อสม.ตำบลคลองรี   ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำทะเบียนรายชื่อของผู้เข้ารับการอบรม 2. แจ้งกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้ารับการอบรมตามวัน และเวลาที่กำหนด ขั้นดำเนินการ 1. ซักถามพูดคุย ถึงปัญหาสุขภาพช่องปาก 2. บรรยายให้ความรู้โดยทันตแพทย์จากโรงพยาบาลสทิงพระ
3. ทดสอบความรู้ และเจตคติ หลังการอบรม โดยการถามตอบ 4. ฝึกปฏิบัติการทำความสะอาดช่องปาก โดยใช้อุปกรณ์แปรงสีฟันและยาสีฟัน 5. สรุปผลการอบรม

กลวิธีที่ 2 การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมของบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง ขั้นเตรียมการ
1. จัดทำแบบสำรวจพฤติกรรมและสภาวะสุขภาพช่องปาก

  ขั้นดำเนินการ 1. ซักถามพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพช่องปาก 2. ตรวจสุขภาพช่องปากด้วยชุดตรวจทางทันตกรรม 3. ให้คำแนะนำการรักษาทางทันตกรรมและการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยสื่อโฟมบอร์ด 4. มอบแปรงสีฟันและยาสีฟัน พร้อมกับสาธิตการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี

กลวิธีที่ 3 ช่องทางด่วนเพื่อการเข้าถึงบริการทันตกรรม   กิจกรรมที่ 1 จัดช่องทางด่วนเพื่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมในบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง   ขั้นเตรียมการ 1. จัดระบบช่องทางด่วนและสะดวกในการรับบริการ 2. จัดเตรียมแบบบันทึกการนัด ขั้นดำเนินการ 1. นัดบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรี
2. ส่งต่อบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่ต้องรับการรักษาเร่งด่วน หรือเกินขอบเขตที่เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขประจำ รพ.สต.      ให้การรักษาได้ ไปยังโรงพยาบาลสทิงพระ พร้อมทั้งติดตามผลการรักษา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง
  2. ผู้ดูแลบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในตำบลคลองรี มีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
  3. ผู้ดูแลบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในตำบลคลองรี มีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
  4. ผู้ดูแลผู้ป่วย (CG) เขตรับผิดชอบสามารถดำเนินการสานต่อกิจกรรมที่มีในโครงการได้
  5. แก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากให้กับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีปัญหาทันตสุขภาพตามความเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 10:17 น.